วิธีสมัคร และการใช้งานโปรแกรม Skype อย่างละเอียด
หากยังไม่มีโปรแกรม Skype ให้ทำการดาวน์โหลดมาติดตั้งก่อนครับ
Skype 4.2 Download
(หลังจากดาวน์โหลดแล้วให้ทำการติดตั้งจนเสร็จขั้นตอนแล้วสมัครสมาชิกตามวิธีด้านล่างนี้)
การขอ User Name เพื่อเข้าใช้งาน skype
1.) เลือกตรง Don’t have a Skype Name?
2.) ใส่ชื่อ
3.) ใส่ชื่อ เพื่อใช้เป็น user name ในการ sign in
4.) ใส่ password (จำเป็นต้องใช้ตั้งแต่ 6-20 ตัว โดยจะต้องมีตัวอักษรอังกฤษไม่น้อยกว่า 1 ตัว และตัวเลข 1 ตัวปนกัน)
(หากไม่ตั้งพาสเวอร์ดตามข้อกำหนด โปรแกรมจะฟ้องแปลว่า Use at least 1 letter and 1 number ซึ่งเป็นสาเหตุส่วนมาก ที่ทำให้คนสมัคร Skype ไม่ได้)
5.) เลือกตรงช่องสี่เหลี่ยม เพื่อแสดงการยอมรับเงื่อนไขใน agreement
6.) กด next
7.) ใส่ E-mail Address
8.) เลือกประเทศที่เราอยู่
9.) จากนั้นก็ Sign in ได้เลย
วิธีการเรียกใช้โปรแกรม Skype
หากผู้ใช้งานทำตามขั้นตอนในการติดตั้งโปรแกรมดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ผู้ใช้งานก็สามารถที่จะเรียกใช้งานโปรแกรม Skype ได้ 2 วิธีหลักๆ ด้วยกันคือ
1.) เรียกใช้งานได้จาก Status Bar ดังรูป
2.) หรือหากผู้ใช้งานท่านใดได้ตั้งค่าไม่ให้ Skype เปิดขึ้นมาพร้อมกับการเข้าสู่วินโดว์ ก็สามารถที่จะเรียกใช้งาน Skype ได้จากไอคอนดังรูป
หน้าตาของ Skype
1.) เมนูบาร์ เป็นส่วนที่ใช้สำหรับเรียกคำสั่งการทำงานในโปรแกรม Skype ทั้งหมด
2.) ทูลบาร์หากเมนูบาร์เรียกใช้งานยุ่งยาก ทูลบาร์นี่แหละครับที่จะทำให้การทำงานของเราง่ายขึ้นเพียงคลิกแค่ครั้งเดียว
3.) แท็บพาเนล เป็นส่วนที่แสดงรายละเอียดของการทำงานในแต่ละแท็บ
4.) ปุ่ม Call ผู้ใช้งานน่าจะได้ใช้ส่วนนี้ค่อนข้างจะบ่อยหน่อยนะครับ ซึ่งปุ่มนี้จะทำหน้าที่ในการโทรออกหรือเอาไว้รับสายกรณีที่มีผู้ติดต่อเข้ามา
5.) ปุ่ม Hangup ครับ เมื่อมีปุ่มโทรออกก็ต้องมีปุ่มวางสาย ซึ่งปุ่มนี้จะทำหน้าที่ในการโทรออกหรือเอาไว้รับสายกรณีที่มีผู้ติดต่อเข้ามา
6.) ส่วนแจ้งสถานะ ในการใช้งานโปรแกรมประเภท Instant Massager แทบทุกโปรแกรมส่วนนี้ผู้ใช้งานจำเป็นต้องแจ้งไว้เพื่อบ่งบอกสถานการออนไลน์ ของเราครับ ซึ่งหากจะว่าไปแล้วส่วนนี้ยังบ่งบอกถึงมารยาทในการใช้โปรแกรมประเภท Instant Messenger อีกด้วยนะครับ
การ sign in เพื่อเข้าใช้งาน skype
1.) ใส่ User Name
2.) ใส่ Password
3.) ตั้งค่าตัวโปรแกรม
4.) กดปุ่ม Sign in
การเพิ่มรายชื่อลงใน contacts
1.) คลิกเลือกเมนู Contacts> Add a Contact... หรือจะคลิกไปยังปุ่มดังรูปก็ได้
2.) จะปรากฏหน้าต่างในการค้นหา ให้ผู้ใช้งานใส่ชื่อของเพื่อนที่ต้องการค้นหา
3.) คลิกที่ปุ่ม Search
4.) เมื่อเจอเพื่อนที่ถูกใจแล้ว ก็คลิกเมาส์ไปยังเพื่อนใหม่คนนี้
5.) ทำการเพิ่มรายชื่อลงไปใน Contacts
- Add to Friends List เก็บรายชื่อลง Contacts
- View User Profile ดูข้อมูลของรายชื่อนั้นๆ
การค้นหารายชื่อ
1.) คลิกเลือกเมนู Contacts> Search for Skype User… หรือจะคลิกไปยังปุ่มดังรูปก็ได้
2.) จะปรากฏหน้าต่างในการค้นหา ให้ผู้ใช้งานใส่ชื่อของเพื่อนที่ต้องการค้นหาหรือไม่ใส่ก็ได้หากต้องการหาทุกรายชื่อ
3.) ใส่ชื่อประเทศ ภาษา ของเพื่อนที่ต้องการค้นหา
4.) เลือกเพศ อายุ ของเพื่อนที่ต้องการค้นหา
5.) คลิกที่ปุ่ม Search
6.) เมื่อเจอเพื่อนที่ต้องการแล้ว ก็คลิกเมาส์ไปยังเพื่อนใหม่คนนี้
7.) ทำการเพิ่มรายชื่อลงไปใน Contacts
- Add to Friends List เก็บรายชื่อลง Contacts
- View User Profile ดูข้อมูลของรายชื่อนั้นๆ
8.) พิมพ์ข้อความแนะนำตัวเอง
9.) คลิกที่ปุ่ม OK
เริ่มคุยกันเลย กับ Skype
1.) หลังจากที่ผู้ใช้งาน เพิ่มรายชื่อ (Add Contact) ที่ต้องการจะสนทนาด้วยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็สามารถที่จะเลือกรายชื่อที่ต้องการสนทนาด้วย
2.) จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Call จากด้านล่าง
3.) ซึ่งในระหว่างที่กำลังติดต่ออยู่นั้นผู้ใช้จะได้ยินของสัญญาณของการการเชื่อมต่อเหมือนกับเสียงกดโทรศัพท์ จนกระทั่งเมื่อฝั่งตรงข้างรับสายเราก็สามารถที่
จะสนทนาพูดคุยได้ทันที
4.) และหากผู้ใช้งานต้องการที่จะวางหูหลังสนทนาจบก็ให้คลิกที่ปุ่ม Hangup ครับ
การคุยในแบบ Chat
และหากผู้ใช้งานต้องการที่เปลี่ยนบรรยากาศในการสนทนาแบบดั่งเดิมด้วยการ Chat แล้วละก็ Skype ก็มีให้ใช้บริการเช่นกัน โดย
1.) คลิกเลือกรายชื่อเพื่อนที่ต้องการที่จะคุยด้วยในลิสต์
2.) คลิกที่ปุ่ม Chat
3.) เท่านี้ก็สามารถที่จะ Chat ได้แล้ว
เมื่อมีสายเข้า
และเมื่อมีสายเข้าก็จะมีเสียง กริ๊งๆๆ ผู้ใช้งานเพียงแค่คลิกไปยังปุ่ม Call เพื่อรับสายเท่านี้เราก็จะได้คุยกับเพื่อนเราแล้วละครับ
1.เมื่อมีสายเข้าจะมี popup ขึ้นมาตรงมุมล่างซ้ายของจอ เราสามารถรับสายตรงนี้ก็ได้ครับ
2.หรือจะรับสายตรงปุ่ม call ก็ได้
การคุยผ่านโทรศัพท์
หากผู้ใช้งานต้องการที่จะการสนทนาไปยังโทรศัพท์ สามารถทำได้โดย
1. คลิกที่ตรงแทบ Dial
2. เลือกประเทศของผู้ที่เราต้องการจะโทรหา
3.) ใส่หมายเลขโทรศัพท์
4.) จากนั้นคลิกที่ปุ่ม Call จากด้านล่าง
5.) และหากผู้ใช้งานต้องการที่จะวางหูหลังสนทนาจบก็ให้คลิกที่ปุ่ม Hangup
การประชุมทางเสียง
หากผู้ใช้งานต้องการที่จะทำการประชุม สามารถทำได้โดย
1. กดปุ่ม Conference
2. จะปรากฎหน้าต่างขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้ทำการset up ค่า conference call โดยเริ่มจากการพิมพ์หัวข้อ conference
3. ทำการ invite รายชื่อผู้ที่ต้องการเข้าร่วมประชุมจาก contacts list จากนั้นกดปุ่ม add
4. เมื่อadd contact รายชื่อของคนที่เราทำการaddก็จะปรากฎใน Conference participants โดยเรา สามารถ invite ได้มากกว่าสี่คน
5. กดปุ่ม start
6. เมื่อจบการประชุมก็กดปุ่ม Hangup
ส่วนแสดงสถานะ
ส่วนแสดงสถานะของการใช้งาน นับได้มีความสำคัญต่อผู้ใช้งานโปรแกรม Instant Message แทบทุก
โปรแกรม ทั้งนี้เนื่องจากคู่สนทนาจะได้ไม่เสียเวลาและอารมณ์หาติดต่อไปแล้วไม่มีการตอบสนองกลับ หรืออาจ
กล่าวได้ว่าส่วนของการแสดงสถานะเป็นที่บ่งบอกถึงมารยาทในการใช้งานโปรแกรมประเภท Instant Massager
เลยทีเดียว โปรแกรม Skype เองก็เช่นกัน มีส่วนของการแจ้งสถาน การใช้งานให้คู่สนทนาฝั่งตรงข้ามทราบ ดังต่อไปนี้
1.) Offline หมายถึง ไม่ได้ใช้งาน หรือ ปิดการติดต่อ
2.) Online หมายถึง สถานะพร้อมใช้งาน และรับการติดต่อเสมอครับ
3.) Away หมายถึง อยู่ในสถานะที่สนทนาติดต่อได้แต่อาจจะตอบช้าหน่อย
4.) Not Available หมายถึง ไม่ว่างน่ะตอบช้าเลยนะครับ
5.) Do not Disturb หมายถึง ห้ามยุ่งและวุ่นวายกะฉันนะ
6.) Invisible หมายถึง ซ่อนอยู่ไม่แสดงตน
***************************************
เพิ่มเติม
http://www.plextel.net/Files/download/usbphone/manual/USING%20skype%20Thai.pdf
เทพกระจอก
วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555
Skype คืออะไร ?
Skype คืออะไร ?
Skype (สไคป์) คือ โปรแกรมที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยข้อความพร้อมเสียงและภาพจากกล้อง Webcam โดยจะเป็นการสื่อสารกันแบบ Real Time ลักษณะจะคล้าย Windows Live Messenger หรือที่เราเรียก MSN แต่จะมีข้อดีเหนือกว่ามากในเรื่องของคุณภาพของภาพ และเสียง ซึ่ง Skype จะให้สัญญาณที่คมชัดกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยส่วนใหญ่แล้ว Skype จะนำมาใช้ทำ Video Conference เพื่อสนทนากันแบบตัวต่อตัว หรือประชุมสายพร้อมกันหลายคนผ่านอิน เทอร์เน็ตได้ทั่วโลก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงคุณมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว การเชื่อมต่อจะเป็นแบบ peer-to-peer voice over Internet protocol (VoIP) จุดเด่นของ Skype คือ การใช้งานเป็นโทรศัพท์ ที่โทรติดต่อผู้อื่นที่ไม่ได้ใช้ Skype ซึ่งโทรไปได้ทั้งเบอร์มือถือ และ เบอร์พื้นฐานทั่วไปได้ทั่วโลก โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นแบบเหมาจ่าย เป็นเดือน โดยสามารถสั่งซื้อได้โดยตรงกับเว็บ http://www.skype.com/ โดยกดปุ่ม BuyCredit ด้านบนขวาของหน้าเว็บแล้วทำการ Login ด้วย Username และ Password เดียวกันกับที่เราใช้งานโปรแกรม Skype เพื่อเข้าสู่การสั่งซื้อแพ็คเกจ โดยการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
(สมัครเครติดฟรี คลิ๊ก)
จุดเด่นของโปรแกรม Skype
- ดาวน์โหลดฟรี !
- ผู้ใช้บริการสามารถทำการโทรศัพท์ฟรีๆ ระหว่างสมาชิก ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลก
- คุณภาพเสียงดีเยี่ยมเหมือนใช้โทรธรรมดา เสียงตอบกลับของคู่สนทนาชัดเจน
- รองรับการใช้งานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์, Pocket PC
- เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ทำให้สามารถค้นหาเพื่อนใหม่ๆได้ง่ายๆ จากทั่วโลก
- สามารถโทรเข้าจากโทรศัพท์พื้นฐานเข้ามายัง Skype ได้ (SkypeIn)
- สามารถโทรออกจาก Skype เข้าไปยังโทรศัพท์พื้นฐานได้ (SkypeOut)
- สามารถโอนสายเรียกจาก Skype เข้าไปยังโทรศัพท์พื้นฐานปลายทางได้ (เฉพาะลูกค้าที่ใช้ SkypeOut)
ประเภทบริการของ Skype
1. โทรระหว่างสมาชิก Skpye ด้วยกันเอง (PC-to-PC) เป็นบริการฟรี
2. โทรไปยังเบอร์โทรศัพท์ทั่วไปหรือโทรมาจากโทรศัพท์ทั่วไป (PC-to-Phone และ Phone-to-PC) แบ่งเป็น
- SkypeIn คือ การสมัครเบอร์ของ Skype เพื่อรองรับการโทรเข้าจากโทรศัพท์พื้นฐานทั่วโลกในราคาประหยัด
- SkypeOut คือ การสมัครใช้บริการของ Skype เพื่อโทรออกจาก Skype ไปยังโทรศัพท์พื้นฐานทั่วโลกและ ที่พิเศษกว่านั้นคือ ผู้ใช้งานที่ลงทะเบียน SkypeOut สามารถ Forward Skype ของคุณ เข้าไปยังโทรศัพท์พื้นฐานที่คุณต้องการได้ในขณะที่คุณ Offline เมื่อมีผู้โทรเข้า Skype ของคุณ ช่วยทำให้คุณไม่พลาดการติดต่อ
โดยบริการประเภทที่ 2 เป็นบริการสำหรับสมาชิกที่เสียเงินเท่านั้น โดยค่าใช้จ่ายจะคิดแบบชำระเงินล่วงหน้าหรือ Prepaid คล้ายๆ กับโทรศัพท์แบบบัตรเติมเงินบ้านเรานั่นเอง หากแต่ว่าค่าบริการจะถูกกว่าประมาณ 60-80%
Skype (สไคป์) คือ โปรแกรมที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันระหว่างผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยข้อความพร้อมเสียงและภาพจากกล้อง Webcam โดยจะเป็นการสื่อสารกันแบบ Real Time ลักษณะจะคล้าย Windows Live Messenger หรือที่เราเรียก MSN แต่จะมีข้อดีเหนือกว่ามากในเรื่องของคุณภาพของภาพ และเสียง ซึ่ง Skype จะให้สัญญาณที่คมชัดกว่าอย่างเห็นได้ชัด โดยส่วนใหญ่แล้ว Skype จะนำมาใช้ทำ Video Conference เพื่อสนทนากันแบบตัวต่อตัว หรือประชุมสายพร้อมกันหลายคนผ่านอิน เทอร์เน็ตได้ทั่วโลก โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงคุณมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว การเชื่อมต่อจะเป็นแบบ peer-to-peer voice over Internet protocol (VoIP) จุดเด่นของ Skype คือ การใช้งานเป็นโทรศัพท์ ที่โทรติดต่อผู้อื่นที่ไม่ได้ใช้ Skype ซึ่งโทรไปได้ทั้งเบอร์มือถือ และ เบอร์พื้นฐานทั่วไปได้ทั่วโลก โดยเสียค่าใช้จ่ายเป็นแบบเหมาจ่าย เป็นเดือน โดยสามารถสั่งซื้อได้โดยตรงกับเว็บ http://www.skype.com/ โดยกดปุ่ม BuyCredit ด้านบนขวาของหน้าเว็บแล้วทำการ Login ด้วย Username และ Password เดียวกันกับที่เราใช้งานโปรแกรม Skype เพื่อเข้าสู่การสั่งซื้อแพ็คเกจ โดยการชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
(สมัครเครติดฟรี คลิ๊ก)
จุดเด่นของโปรแกรม Skype
- ดาวน์โหลดฟรี !
- ผู้ใช้บริการสามารถทำการโทรศัพท์ฟรีๆ ระหว่างสมาชิก ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลก
- คุณภาพเสียงดีเยี่ยมเหมือนใช้โทรธรรมดา เสียงตอบกลับของคู่สนทนาชัดเจน
- รองรับการใช้งานผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์, Pocket PC
- เป็นชุมชนขนาดใหญ่ ทำให้สามารถค้นหาเพื่อนใหม่ๆได้ง่ายๆ จากทั่วโลก
- สามารถโทรเข้าจากโทรศัพท์พื้นฐานเข้ามายัง Skype ได้ (SkypeIn)
- สามารถโทรออกจาก Skype เข้าไปยังโทรศัพท์พื้นฐานได้ (SkypeOut)
- สามารถโอนสายเรียกจาก Skype เข้าไปยังโทรศัพท์พื้นฐานปลายทางได้ (เฉพาะลูกค้าที่ใช้ SkypeOut)
ประเภทบริการของ Skype
1. โทรระหว่างสมาชิก Skpye ด้วยกันเอง (PC-to-PC) เป็นบริการฟรี
2. โทรไปยังเบอร์โทรศัพท์ทั่วไปหรือโทรมาจากโทรศัพท์ทั่วไป (PC-to-Phone และ Phone-to-PC) แบ่งเป็น
- SkypeIn คือ การสมัครเบอร์ของ Skype เพื่อรองรับการโทรเข้าจากโทรศัพท์พื้นฐานทั่วโลกในราคาประหยัด
- SkypeOut คือ การสมัครใช้บริการของ Skype เพื่อโทรออกจาก Skype ไปยังโทรศัพท์พื้นฐานทั่วโลกและ ที่พิเศษกว่านั้นคือ ผู้ใช้งานที่ลงทะเบียน SkypeOut สามารถ Forward Skype ของคุณ เข้าไปยังโทรศัพท์พื้นฐานที่คุณต้องการได้ในขณะที่คุณ Offline เมื่อมีผู้โทรเข้า Skype ของคุณ ช่วยทำให้คุณไม่พลาดการติดต่อ
โดยบริการประเภทที่ 2 เป็นบริการสำหรับสมาชิกที่เสียเงินเท่านั้น โดยค่าใช้จ่ายจะคิดแบบชำระเงินล่วงหน้าหรือ Prepaid คล้ายๆ กับโทรศัพท์แบบบัตรเติมเงินบ้านเรานั่นเอง หากแต่ว่าค่าบริการจะถูกกว่าประมาณ 60-80%
ห้องเรียนเสมือน Virtual Classroom
ห้องเรียนเสมือน Virtual Classroom
..... ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึงการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์โดยใช้ช่องทางของระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ตเข้าไปเรียนในเว็บไซต์ ที่ออกแบบกระบวนการเรียนการสอนให้มีสภาพแวดล้อมคล้ายกับเรียนในห้องเรียนแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนกับผู้เรียน โดยมีบรรยากาศเสมือนพบกันจริง กระบวนการเรียนการสอนจึงไม่ใช่การเดินทางไปเรียนในห้องเรียนแต่เป็นการเข้าถึงข้อมูลเนื้อหาของบทเรียนได้โดยผ่านคอมพิวเตอร์
ห้องเรียนเสมือนสามารถจำแนกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
จัดการเรียนการสอนในห้องเรียนธรรมดา แต่มีการถ่ายทอดสดภาพและเสียงเกี่ยวกับเนื้อหาของบทเรียนโดยอาศัยระบบโทรคมนาคมและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งเรียกว่า Online ไปยังผู้เรียนที่อยู่นอกห้องเรียน นิสิตสามารถรับฟังและติดตามการสอนของผู้สอนได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของตนเองอีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกับอาจารย์ผู้สอนหรือเพื่อนนิสิตที่อยู่คนละแห่งได้
ห้องเรียนเสมือนเป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่าย ที่อาศัยประสิทธิภาพของเทคโนโลยีการสื่อสสารและอินเทอร์เน็ต การเรียนการสอนจึงต้องมีการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์การเรียนการสอนทำได้โดยผู้เรียนใช้คอมพิวเตอร์ เข้าสู่เว็บไซต์ ของห้องเรียนเสมือนและดำเนินการเรียนตามกิจกรรมที่ผู้สอนได้ออกแบบไว้ ห้องเรียนลักษณะนี้เรียกว่า ห้องเรียนเสมือนที่แท้ การเข้าสู่เว็บไซต์ห้องเรียนเสมือนนี้ ภาพที่ปรากฏเป็นหน้าแรก เรียกว่า โฮมเพจ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นชื่อรายวิชาที่สอน ชื่อผู้สอน และข้อความสั้นๆต่างๆที่เป็นหัวข้อสำคัญในการเรียนการสอนเท่านั้น โฮมเพจนี้จะถูกออกแบบต่างๆให้มีความสวยงามด้วยภาพถ่าย ภาพกราฟิก ตัวอักษรและการให้สีสันเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน ข้อความสั้นๆที่จัดเรียงอยู่ในหน้าโฮมเพจได้ถูกเชื่อมโยงไปสู่หน้าเว็บเพจ ซึ่งเป็นหัวข้อย่อยและเชื่อมโยงไปสู่เว็บเพจรายละเอียด ซึ่งเป็นข้อมูลการเรียนการสอนในแต่ละส่วนตามลำดับความสำคัญ โดยผู้เรียนเพียงคลิกเม้าท์เลือกเรียนในหัวข้อซึ่งเป็นเนื้อหาหรือกิจกรรมการเรียนการสอนที่ตนเองสนใจได้ตามต้องการ เช่น เว็บเพจประกาศข่าว เว็บเพจประมวลวิชา เว็บเพจเนื้อหา เว็บเพจแสดงความคิดเห็น เว็บเพจสรุปบทเรียน เว็บเพจตอบปัญหา เว็บเพจแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ เว็บเพจการประเมินผล และเว็บเพจอื่นๆตามที่ถูกออกแบบไว้
ข้อจำกัดของการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนมีหลายประการดังนี้
อุปกรณ์และซอฟแวร์ในการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน มีราคาแพง ดังนั้น การเรียนการสอนด้วยวิธีนี้จึงมีข้อจำกัดในกลุ่มนักเรียนและโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาที่มีฐานะค่อนข้างดี
มีความล่าช้าในการรอข้อมูลย้อนกลับ การเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนมักจะเป็นการเรียนต่างเวลาตามความพร้อมของผู้เรียนและผู้สอน ดังนั้นนักเรียนจึงไม่สามารถได้รับคำตอบโดยทันทีเมื่อต้องการซักถามผู้สอน ซึ่งแตกต่างจากการเรียนการสอนในห้องเรียนแบบปกติที่สามารถโต้ตอบกันได้โดยทันที
ผู้เรียนต้องมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี มิฉะนั้นสิ่งเหล่านี้จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน
ปฎิสัมพันธ์ทางการเรียนไม่มีความเป็นธรรมชาติและมีน้อยเกินไป แม้ว่าการเรียนการสอนแบบห้องเรียน
เสมือนจะมีช่องทางที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เรียนอื่นๆได้ แต่มนุษย์ก็ยังต้องการ การติดต่อสื่อสารที่เห็นหน้า เห็นตา ท่าทาง และการแสดงออกในลักษณะต่างๆเพื่อให้เกิดความรู้สึก ความเข้าใจและความเชื่อมั่นทางความคิด ซึ่งการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนไม่สามารถตอบสนองข้อสงสัยหรือให้คำชี้แนะโดยทันทีอย่างไม่มีอุปสรรค
ผู้เรียนส่วนใหญ่ยังขาดความรับผิดชอบในการเรียนด้วยตนเองซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญในการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือน
การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนนับเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ช่วยลดข้อจำกัดในด้านต่างๆทางการศึกษาได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความพอใจ ตามความพร้อมทั้งทางด้านเวลา สถานที่และความสามารถทางสติปัญญา การเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนนี้ สามารถจัดได้ทั้งแบบการศึกษาในโรงเรียน นอกโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัยส่งผลให้คนส่วนใหญ่สามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต อย่างไรก็ตามยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดห้องเรียนเสมือนอยู่อีกมาก เช่น ระบบบริหารจัดการของห้องเรียนการประเมินผลสัมฤทธิ์ของการเรียน และสิ่งที่การเรียนในห้องเรียนเสมือนไม่มีก็คือ ปฏิสัมพันธ์ทางด้านสังคมระหว่างผู้เรียนด้วยกัน สิ่งเหล่านี้คือคำถามที่ต้องคิดว่าห้องเรียนเสมือนจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
แม้ว่าต้นทุนในการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนจะสูงมาก แต่ถ้าหากมีการบริการจัดการจนมีประสิทธิภาพและเป็นที่แพร่หลายแล้ว ผลกำไรจะเกิดขึ้นกับสังคมและประเทศชาติในรูปของคนส่วนใหญ่ของประเทศได้รับความรู้ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาส่วนต่างๆของประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไปในอนาคต
ความคิดรวบยอด
ห้องเรียนเสมือน เป็นการจัดสิ่งแวดล้อมในความว่างเปล่า (space) โดยอาศัยศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เป็นการจัดประสบการณ์เสมือนจริงแก่ผู้เรียน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสนับสนุน อื่นๆที่จะช่วยทำให้การมีปฏิสัมพันธ์แบบเผชิญหน้าที่บางโอกาสอาจจะเป็นไปไม่ได้หรือเป็นไปได้ยากนั้นสามารถกระทำได้เสมือนบรรยากาศการพบกันจริงๆกระบวนการทั้งหมดดังที่กล่าวมานี้มิใช่เป็นการเดินทางไปโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยแต่จะเป็นการเข้าถึงทางด้านการพิมพ์การอ่านข้อความหรือข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ที่มีซอฟแวร์เพื่อควบคุมการสร้างบรรยากาศแบบห้องเรียนเสมือน การมีส่วนร่วมจะเป็นแบบภาวะต่างเวลา ซึ่งทำให้มีผู้เรียน ในระบบห้องเรียนเสมือนสามารถเชื่อมต่อเข้าไปศึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา
ห้องเรียนเสมือน
หมายถึง การจัดประสบการณ์เรียนรู้ในรูปแบบของ software โดยมีวัตถุประสงค์ ที่จะช่วยสนับสนุนให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้โดยสามารถเลือกเวลาและสถานที่ที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดห้องเรียน รวมถึงการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้หรือไม่ นอกจากนั้นสิ่งที่เราเรียนในห้องเรียนเสมือนมีคือ การปฏิสัมพันธ์หรือสังคมระหว่างผู้เรียนด้วยกัน เป็นสิ่งที่ต้องคิดว่าห้องเรียนเสมือนจะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร
เนื่องจากการเรียนการสอนแบบเดิมมีข้อจำกัด ดังนี้
สถานที่จำกัดเฉพาะในห้องเรียน
การเรียนรู้จำกัดเฉพาะกับครู ผู้เรียน และตำรา
เวลาในการจัดการเรียนการสอน
โอกาสในการเรียนการสอน สถานที่เรียนไม่เพียงพอผู้ประสงค์จะเรียน
สัดส่วนของครูและนักเรียนไม่เหมาะสม
เป้าหมายของห้องเรียนเสมือนเป็นการเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าถึงและได้รับการศึกษาหลังมัธยมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ เป้าหมายเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับคำกล่าวที่ว่า “ถ้าคุณไม่ได้เข้าชั้นเรียนบางทีอาจจะทำให้คุณเรียนได้ไม่มาก” นอกจากนั้นเป้าหมายประการสำคัญ ทีสอดคล้องและเป็นปัจจัยของห้องเรียนเสมือนคือ การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative learning) เป้าหมายพัฒนาโอกาสของการเข้าถึงการศึกษาอาจจะพิจารณาแนวคิดกว้างๆที่เกี่ยวกับห้องเรียนเสมือนในประเด็นต่างๆต่อไปนี้
ทำเลเป้าหมาย ผู้เรียนอาจจะเลือกเรียนรายวิชาใดๆจากผู้สอนคนใดคนหนึ่งทั่วโลกหากมีการเปิดโอกาสให้ลงทะเบียนเรียนได้โดยไม่มีขีดจำกัดในเรื่องพื้นที่
เวลาที่ยืดหยุ่น ผู้เรียนอาจจะมีส่วนร่วมได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืนการได้รับข้อมูลย้อนกลับจากผู้สอนและเพื่อนที่เรียนร่วมกันจะไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลา
ไม่มีการเดินทาง ผู้เรียนสามารถทำงานและศึกษาอยู่ที่บ้านได้อย่างสะดวกสบายซึ่งอาจจะเป็นข้อดีสำหรับผู้เรียนที่มีอุปสรรค อันเนื่องมาจากความพิการทำให้ไม่มีความจำเป็นต้องเดินทางหรือแม้แต่ผู้เรียนที่มีภาระด้านครอบครัว ปัจจัยประการนี้นับเป็นโอกาสที่ทำให้ทุกคนมีทางเลือกและความสะดวกสบาย
ประหยัดเวลา ผู้เรียนที่จำเป็นต้องเดินทางไปสถานศึกษาถ้าเรียนจากห้องเรียนเสมือนจะประหยัดการเดินทาง
ทำงานร่วมกัน ด้วยภาพทางเทคโนโลยี ทำให้ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้ง่ายดาย ในขณะที่การแลกเปลี่ยนข้อมูลในห้องเรียนปกติ กระทำได้ยาก ผู้เรียนในระบบห้องเรียนเสมือนจะสามารถอธิบายปัญหาร่วมกัน แลกเปลี่ยนโครงงานซึ่งกันและกันได้
โอกาสการมีส่วนร่วม ด้วยระบบสื่อสารด้วยคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง สามารถเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเท่าเทียมกัน ในการถามคำถาม การให้ข้อสังเกตและการทำกิจกรรมร่วมกัน
นอกจากจุดเด่นของห้องเรียนเสมือนที่กล่าวมาแล้วนั้นในทางกลับกัน ข้อจำกัดของห้องเรียนเสมือนอาทิเช่น
แหล่งเรียนมีจำกัด ในปัจจุบันยังมีสถาบันที่เสนอรายวิชาแบบห้องเรียนเสมือนจำกัดมากทำให้ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับแหล่งที่จะเรียนในปัจจุบัน
เครื่องมือที่จำเป็น ผู้เรียนจะต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ และโมเด็มที่บ้าน หรือที่ทำงานพร้อมที่จะติดต่อเชื่อมเข้ากับโปรแกรมห้องเรียนเสมือน ดังนั้น การเรียนในระบบห้องเรียนเสมือน จึงดูคล้ายกับผู้เรียนจะต้องมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอสมควรหรือไม่ก็จะต้องทำงานในองค์กรที่มีอุปกรณ์เหล่านี้ และพร้อมจะสนับสนุนให้เข้าเรียนได้
การให้ข้อมูลย้อนกลับล่าช้า การสื่อสารในชั้นเรียนปกติ จะเป็นการสื่อสารแบบพบหน้า การถามคำถามจะได้รับคำตอบทันทีทันใดแต่ในสื่อที่มีการเรียนแบบภาวะต่างเวลาอาจจะต้องรอข้อมูลย้อนกลับ อาจจะเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน ยิ่งไปกว่านั้นบางครั้งผู้สอนอาจจะทำให้ข้อมูลย้อนกลับแบบเป็นกลุ่มแบบรวมๆ มิได้เฉพาะเจาะจง ให้กับผู้เรียนคนใดคนหนึ่งอย่างไรก็ตามการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีทันใดสำหรับห้องเรียนเสมือน สามารถกระทำได้ ถ้าผู้ที่ร่วมเรียนทุกคนติดต่อกันแบบอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์พร้อมๆกัน การพูดคุยการให้ข้อมูลย้อนกลับกันและกันจะต้องมีการเตรียมข้อความสำเร็จรูป จะทำให้การติดต่อระหว่างกันและกันภายในกลุ่มรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่โดยส่วนมากและการเรียนแบบห้องเรียนเสมือนมักจะนิยมใช้แบบภาวะต่างเวลา จึงทำให้คำตอบที่ได้รับล่าช้าออกไป
ทักษะเอกสาร ผู้เรียนที่จะเรียนในระบบห้องเรียนเสมือน จะต้องมีทักษะในการอ่านและการเขียนเป็นอย่างดีเพราะผู้เรียนต้องใช้ทักษะในการใช้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อการติดต่อสื่อสาร การใช้ซอฟต์แวร์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาขัดข้องจากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้
เปรียบเทียบลักษณะห้องเรียนเสมือนกับห้องเรียนปกติ
ห้องเรียนเสมือน ห้องเรียนปกติ
การพิมพ์และการอ่าน การพูดและการฟัง
สถานที่เรียนใดก็ได้ เวลาใดก็ได้ มีการกำหนดตารางเวลาเรียน
การจดบันทึกถูกบันทึกโดยอัตโนมัติ ผู้เรียนต้องจดบันทึก
คอมพิวเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของการอำนวยความสะดวก คอมพิวเตอร์ไม่ได้ถูกกำหนดสำหรับผู้เรียน
ที่มาข้อมูล : http://edu.chandra.ac.th/
ตัวอย่างเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ตัวอย่างเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
รอดูต่อไปครับกับเทคโนโลยีที่จะต่อยอดจากเทคโนโลยี 3 G ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งไม่แน่อีกเพียงไม่กี่ปีเราอาจได้เห้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ล้ำอนาคตก็เป็นได้
รอดูต่อไปครับกับเทคโนโลยีที่จะต่อยอดจากเทคโนโลยี 3 G ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งไม่แน่อีกเพียงไม่กี่ปีเราอาจได้เห้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ล้ำอนาคตก็เป็นได้
การสื่อสารด้วยวิดีโอแบบปฏิสัมพันธ์
การสื่อสารด้วยวิดีโอแบบปฏิสัมพันธ์
วิวัฒนาการของการสื่อสารมวลชนของหลาย ๆ ประเทศ มักเริ่มด้วยการมีสถานีวิทยุกระจายเสียง จากนั้นก็พัฒนาไปสู่การส่งหรือการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่เป็นดำขาวแล้วเป็นสี อันเป็นการให้ข่ายสารและสาระบันเทิงแบบกวาดกว้างสำหรับคนทุกคนที่มีเครื่องรับ จนถึงจุดหนึ่ง อุตสาหกรรมด้านโทรทัศน์ก็จะพัฒนาไปสู่การให้บริการต่าง ๆ ในรูปของพหุสื่อที่เป็นแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia Services) เช่นที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เมื่อไม่กี่ปีมานี้ หนึ่งในการให้บริการดังกล่าวก็คือการสื่อสารในรูปของวิดีโอดีมานด์ (Video On Demand หรือ VOD) อันเป็นการให้บริการแบบปฎิสัมพันธ์ในรูปต่าง ๆ ในลักษณะของบรอดแบนด์ (broad band) ซึ่งกำลังเป็นที่ยอมรับของตลาดโดยมีกลุ่มเป้าหมายแรกที่เป็นผู้ใช้บริการที่อยู่ตามบ้าน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในขั้นต้นสำหรับบริการที่เป็น VOD จากนั้นก็มีการคาดกันว่าการให้บริการ VOD จะกระจายไปสู่บริษัทอันเป็นธุรกิจประเภทต่าง ๆ เรื่อยไปจนถึงสถาบันการศึกษา
สิ่งดึงดูดใจในเรื่องของ VOD สำหรับผู้ใช้ตามบ้านก็คือการมีรายการและภาพยนตร์ใหม่ ๆ ให้เลือกชมได้มากมาย ความหลากหลายของรายการที่จะมี อาทิเช่น ข่าว ความบันเทิง หรือสารคดีที่เป็นแบบหลายตอนจบ แคตาล็อกสำหรับชอปปิง ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตลาดทุน (stock exchange information) รวมทั้งเกมการเล่นแบบต่าง ๆ และบริการในด้านข้อมูลเฉพาะด้านตามความต้องการของผู้ชม
การเลือกชมรายการดังกล่าวเป็นการเลือกไปจากบ้าน (หรือที่ทำงาน) และรายการที่ผู้ชมได้เลือกจะไปถึงที่บ้าน (หรือที่ทำงาน)ภายในเวลาอันสั้น (นาทีหรือวินาที) ภายหลังจากที่ได้มีการสั่ง ซึ่งก็จะมีการเรียกเก็บเงินจากผู้ชมหรือผู้ใช้บริการโดยคิดเป็นรายการหรือคิดตามระยะเวลา รายการที่มีให้เลือกจากที่บ้านเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้สำหรับในหลายประเทศก็มีอาทิเช่น ในรูปของ Pay-TV และ Pay-perview ซึ่งในต่อ ๆ ไปก็จะมีบริการแบบ VOD เช้ามาเสริม โดยในขั้นแรกอาจอยู่ในรูปของ Near Video-On-Demand (NVOD) ซึ่งผู้ชมสามารถเลือกดูรายการต่าง ๆ จากที่มีอยู่โดยเริ่มดูได้ตามช่วงเวลาที่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าเช่นทุก 15 หรือ 30 นาที รายการประเภทนี้จะเก็บไว้ในรูปของ compressed form ในสเตอเรจดีไวซ์ พัฒนาการขั้นต่อไปก็อาจเป็นไปในรูปของ Interactive Video-On-Demand (IVOD) อันเป็นการให้บริการที่อาศัยอุปกรณ์สับเปลี่ยนที่เป็น switched basis และอาศัยระบบสื่อสารโทรคมนาคม โดยอยู่ภายใต้การดูแลของเคเบิลโอเปอเรเตอร์และผู้ให้บริการ การเรียกเพื่อขอชมรายการในรูปของ IVOD นี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการควบคุมในรูปของ VCR นอกจากนี้ก็จะมีประเภทของรายการให้เลือกดูได้ยืดหยุ่นมากขึ้น เพราะผู้ชมแต่ละรายจะได้รับสำเนาของรายการเฉพาะเป็นจำนวนหนึ่งชุด โดยอาศัยการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด อันทำให้ต้องมีสเตอเรจที่ใหญ่ขึ้น การให้บริการที่เป็นพหุสื่อในรูปของ IVOD จึงสิ้นค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็จะได้รับความนิยมจากผู้ใช้มากขึ้น
การรุดหน้าของสื่อสารที่เป็น VOD ได้อาศัยเทคโนโลยีที่เป็นฐานอยู่หลายอย่างที่ได้รับการพัฒนามาจนขั้นใช้การได้เป็นอย่างดี ดังจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป สิ่งที่ทำให้ VOD เป็นไปได้ในอีกไม่ช้าก็คือ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ลดลงเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากการรุดหน้าของเทคโนโลยีในด้านการสื่อสารและอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ รวมทั้งองค์กรที่ทำหน้าควบคุมด้านการสื่อสารของหลาย ๆ ประเทศ(เช่น FCC ของสหรัฐ) ที่มีส่วนทำให้การสื่อสารอันล้ำยุค เช่น VOD มีความเป็นไปได้ภายในระยะอันสั้น ดังจะเห็นจากการที่ FCC ของสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้ RBOC (Regional Bell Operating Companies) ในการให้บริการในด้าน VOD เมื่อปี 1992
สถาปัตยกรรมของเน็ตเวอร์ก องค์ประกอบ
สถาปัตยกรรมและสิ่งที่เป็นระบบย่อยสำหรับ VOD เน็ตเวอร์กได้แสดงไว้ในรูปที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย VOD เซอร์ฟเวอร์ ส่วนต่าง ๆ ของบรอดแบนด์สวิตชิงเน็ตเวอร์ก ส่วนที่ทำหน้าที่ในด้านแอ็กเซส (Access Arrangements) และอุปกรณ์ปลายทางของลูกค้า (Customer Premises Equipment หรือ CPE)
ภายในวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ (video server (s))เป็นที่บรรจุวิดีโอโปรแกรมต่าง ๆ ที่ได้รับการบีบอัดแล้ว รวมทั้งสำเนาของสัญญาณวิดีโอที่พร้อมที่จะสนองความต้องการโดยผ่านทางเน็ตเวอร์กของผู้ใช้ นอกจากนี้ภายในเซอร์ฟเวอร์ยังเป็นที่บรรจุเอ็นโค้ดเดอร์ของรีลไทม์ (Moving Picture Expert Group (MPEG) เพื่อสำหรับการแอ็กเซสไปสู่รายการสดต่าง ๆ โดยผู้ที่ให้บริการรายใดรายหนึ่งเป็นเจ้าของเซอร์ฟเวอร์หรือกลุ่มของเซอร์ฟเวอร์ ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งเป็นเจ้าของเซอร์ฟเวอร์หรือกลุ่มของเซอร์ฟเวอร์ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการช่วง (multiple service providers) สามารถใช้ประโยชน์จากเซอร์ฟเวอร์ดังกล่าวในการให้บริการแก่ลูกค้าโดยอาศัยเน็ตเวอร์กเดียวกัน นอกจากนี้ผู้ที่เป็นเน็ตเวอร์กโอเปอเรเตอร์ยังสามารถเป็นเจ้าของวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ต่าง ๆ เพื่อนำขีดความสามารถที่เหลืออยู่ไปให้ผู้ให้บริการรายอื่นๆเช่าต่อ นอกจากนี้ก็มีส่วนที่เรียกว่า headend อันเป็นจุดที่ทำหน้าที่ประมวลผลสัญญาณทีวีที่มาจากที่อื่นและที่มาจากจุดใกล้เคียงก่อนที่จะแปลงเป็นสัญญาณแสงสำหรับส่งข้ามเน็ตเวอร์ก ต่อไปก็จะเป็นห้องสมุดวิดีโอ (video library) ที่เป็นระบบสารบรรณซึ่งเป็นที่เก็บภาพยนตร์ต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในรูปที่บีบอัดแล้ว (compressed format) รวมทั้งการทำหน้าที่ในด้าน batch load สำหรับวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ต่าง ๆ ซึ่งมีเนื้อหาสาระของรายการที่เหมาะสมสำหรับการเรียกดูในแบบรีลไทม์ (realtime)
หน้าที่ของบรอดแบนด์สวิตชิงเน็ตเวอร์กในกรณีนี้ก็คือการเป็นอินเตอร์คอนเนคชันระหว่างเน็ตเวอร์กซับซิสเต็มส์ต่าง ๆ ในสถาบัตยกรรม VOD โดยจะทำหน้าที่ในด้านการส่งสัญญาณและการส่งข้อมูลของรายการจากนี้ก็มีสิ่งที่เรียกว่า แอ็กเซสเน็ตเวอร์ก (access network) ของแอ็กเซสแบบต่าง ๆ จากแกนของเน็ตเวอร์กไปยัง CPE (Customer Premises Equipment) ซึ่งรวมถึง Access Premises Equipment) ซึ่งรวมถึง Access Multiplexing Arrangements และ Network Teminations (NT) การแอ็กเซสด้วยสายทองแดงในรูปของ Asymmetrical Digital Subscriber Loop (ADSL) ออปติคัลไฟเบอร์โคแอกเชียลอินเทอร์เฟส (โดยใช้ดิจิตอลโมดูเลชัน) และเรดิโออินเทอร์เฟส (เช่น Local Multichannel Distribution Services: LMDS) ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ สิ่งที่เป็น CPE อาจเป็น integrated set top ที่เป็นของประจำตัวสำหรับเครื่องโทรทัศน์ หรืออาจอยู่ในรูปของโมดูล่าร์ซับสคริบเบอร์ยูนิต (modular subscriber unit) ที่รับผิดชอบในด้าน user selectable services แบบเต็มที่ในแง่ของการเป็นจุดเชื่อมต่อเข้าไปในบ้านของผู้ใช้บริการ สำหรับผู้ที่เป็นเน็ตเวอร์กโอเปอเรเตอร์ในแง่แมนเนจเมนท์ตามในรูปที่ 1 นั้นก็จะมี Operational Systems ของแต่ละส่วน (element managers) ซึ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานและการบริหาร VOD เน็ตเวอร์จากปลายหนึ่งไปยังอีกปลายหนึ่ง Operational Systems จะสื่อสารกับส่วนต่าง ๆ ของเน็ตเวอร์กโดยอาศัยอินเทอร์เฟสมาตรฐานของทั้งอินฟอร์เมชันโมเดล (information models) ที่เป็นไปตามมาตรฐานของ TMN (Telecommunication Management Network)
สุดท้ายก็มีเซอร์วิสเกตเวย์ (service gateway) ที่ทำหน้าที่เป็นอินเทอร์เฟสให้แก่ลูกค้าในการเชื่อมโยงกับวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ จากจุดของผู้ให้บริการ โดยอาศัย session control โดยเซอร์วิสเกตเวย์จะดูแลลูกค้าเป็นกลุ่มและจะมีการเพิ่มเกตเวย์ดังกล่าวตามปริมาณของ service penetration ที่เพิ่มขึ้น รูปแบบของเซอร์วิสเกตเวย์อาจเป็นไปได้ทั้งในรูปขององค์ประกอบของเน็ตเวอร์กที่แยกออกมาต่างหาก(เช่นในกรณีของ Intelligent Network Architecture)หรือรวมกับองค์ประกอบของเน็ตเวอร์ก (เช่นในวิดีโอเซอร์ฟเวอร์) ถัดไปก็เป็นเซอร์วิสโอเปอเรชันเซ็นเตอร์ (service operation center) ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ให้บริการในด้านของ
- การจัดรายการต่าง ๆ ที่จะกระจายไปสู่วิดีโอเซอร์ฟเวอร์ต่าง ๆ
- บริหารจัดการในด้านเซอร์วิสโอเปอเรชัน สำหรับกลุ่มลูกค้า รวมทั้งการเรียกเก็บเงิน (billing) การดูแลสมาชิก (subscriber management)การตลาดสำหรับการจัดรายการและการโฆษณา
เซอร์วิสโอเปอเรชันเซ็นเตอร์อาจเป็นองค์ประกอบอันหนึ่งของเน็ตเวอร์กที่แยกออกมาต่างหาก (หรือเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ในกรณีของ multiple service providers) หรือสำหรับในกรณีที่เป็นเน็ตเวอร์กขนาดเล็กก็อาจรวมเข้ากับวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ได้
เหตุผลในการใช้ ATM เทคโนโลยี
สถาปัตยกรรมของ VOD ได้ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Asynchronous Transfer Mode (ATM) ในแง่ที่ว่าข้อมูลของรายการต่าง ๆ จะสร้างขึ้นมาในวิดีโอเซอร์ฟเวอร์แล้วแปลงให้เป็น ATM โหมด จากนั้นก็จะมีการส่งข้อมูลผ่านแอ็กเซสเน็ตเวอร์ก โดยอาศัย ATM เซลล์ โดย set-up unit จะทำหน้าที่เป็นปลายทางสำหรับ ATM โปรโตคอลในวิดีโอออดิโอดีโค้ดเดอร์ (video-audio decoder) ส่วนเหตุผลที่ผู้ประกอบการในด้านสื่อสารโทรคมนาคมบางรายได้เลือกใช้ ATM ก็เพราะว่า
1. มีความยืดหยุ่นในด้านแบนด์วิดธ์ ในแง่ของการสามารถสนองความต้องการในด้านแบนด์วิดธ์ในแง่ของการสามารถสนองความต้องการในด้านแบด์วิดธ์สำหรับการให้บริการในด้านวิดีโอที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่นในปัจจุบันก็จะเห็นว่ามาตรฐานในด้านวิดีโอคอมเปรสชันสำหรับ MPEG-1 ได้กำหนดไว้ที่ 1.5 Mbit/s ส่วนมาตรฐาน MPEG-2 จะทำงานที่แบนด์วิดธ์ซึ่งอยู่ระหว่าง 1.5 และ 9 Mbit/s มาตรฐานของHDTV จะอยู่ที่บิตเรตระหว่าง 20 ถึง 40 Mbit/s และภายในห้าปีนับจากนี้ตัวเลขต่าง ๆ ดังกล่าวก็จะเปลี่ยนแปลงไปอีก
ในอีกด้านหนึ่งก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องของเทคโนโลยีของแอ็กเซสเน็ตเวอร์ก (access network) ในแง่ที่ว่าขีดความสามารถของแอ็กเซสแบนด์วิดธ์ต่อผู้ใช้หนึ่งรายจะแปรระหว่าง 1.5 Mbit/s ส่วนมาตรฐาน MPEG-2 จะทำงานที่แบนด์วิดธ์ซึ่งอยู่ระหว่าง 1.5 และ 9 Mbit/s มาตรฐานของ HDTV จะอยู่ที่บิตเรตระหว่าง 20 ถึง 40 Mbit/s และภายในห้าปีนับจากนี้ตัวเลขต่าง ๆ ดังกล่าวก็จะเปลี่ยนแปลงไปอีก ในอีกด้านหนึ่งก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องของเทคโนโลยีของเอ็กเซสเน็ตเวอร์ก (access network) ในแง่ที่ว่าขีดความสามารถของแอ็กเซสแบนด์วิดธ์ต่อผู้ใช้หนึ่งรายจะแปรระหว่าง 1.5 ถึง 6 Mbit/s สำหรับADSL และนับเป็นสิบ Mbit/s สำหรับโคแอ็ก (coax) และไฟเบอร์ (fiber) อันจะขึ้นกับชนิดของสถาปัตยกรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ VOD เน็ตเวอร์กที่จะปลอดภัยสำหรับการใช้งานในอนาคตจะต้องโปร่งใส สำหรับวิวัฒนาการในด้านแบนด์วิดธ์ดังกล่าวซึ่งน่าจะมีเพียง ATM เท่านั้นที่จะสามารถสนองความต้องการเท่าที่พูดมาทั้งหมดนี้ได้
2. Service mix การให้บริการVOD ในขั้นแรกจะเป็นแบบซิงเกิลคอนเนคชันสำหรับผู้ใช้รายเดียว จากนั้นก็อาจพัฒนาไปเป็นการมีหลาย ๆ คอนเนคชันสำหรับผู้ใช้แต่ละราย การมีความโปร่งใสในเรื่องของแบนด์วิดธ์จะทำให้เกิดความสมดุลระหว่าง จำนวนแชนเนิลต่อผู้ใช้แต่ละราย กับแบนด์วิดธ์ที่ได้ใช้ไปแล้วตัวอย่างเช่น ถ้ามีการใช้ ADS เน็ตเวอร์กที่มีแบนด์วิดธ์เท่ากับ 6 Mbit/s ก็ยังสามารถให้บริการแบบหนึ่งรายการที่ 6 Mbit/s สองรายการที่ 3 Mbit/s สามรายการที่ 2 Mbit/s ฯลฯ โดยระบบ VOD ที่อยู่บนฐาน ATM จะมีความยีดหยุ่นเป็นอย่างดีสำหรับกรณีเช่นนี้
ได้มีการคาดกันว่าการเกิดมีบริการที่เป็น VOD นี้จะก่อให้เกิดบริการใหม่ ๆ ในโลกของการสื่อสารโทรคมนาคมอันจะเป็นที่นิยมยอมรับของคนทั่วไปทั้งที่อยู่ตามบ้านและในที่ทำงาน คือเมื่อโครงสร้างพื้นฐานของ VOD เริ่มเข้าที่ ก็จะเป็นของง่ายในการให้บริการต่าง ๆ ที่ต้องการแบนด์วิดธ์สูงในตอนปลายทาง (downstream) และต้องการบิตเรต (bit rate) ที่ต่ำในตอนต้นทาง (upstream) เช่นในกรณีของวิดีโอชอปปิง เช่นธุรกิจในการค้าด้านอสังหาริมทรัพย์ สำนักงานท่องเที่ยว) การศึกษาในระยะไกล การเข้าใช้ฐานข้อมูลแบบพหุสื่อ การดาวน์โหลด CD-ROM ต่าง ๆ รวมทั้งการใช้ CD-I ในเรื่องต่าง ๆ การดาวน์โหลดพวกเกมการเล่นและเกมแบบปฏิสัมพันธ์
3. คอมแพทติบิลิตี้ (compatibility) เนื่องจากได้มีการกำหนดให้ ATM เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูล (transfer mode) สำหรับบรอดแบนด์ ISDN (B-ISDN) การเลือกใช้เทคโนโลยีเช่น ATM จึงทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ในโลกของการสื่อสารสามารถวิวัฒนาการไปสู่การให้บริการต่าง ๆ ที่เป็น B-ISDN แบบสามัญ (generic B-ISDN)
แอ็กเซสเน็ตเวอร์ก (Access Network)
แอ็กเซสเน็ตเวอร์กมีหน้าที่เชื่อมโยง Customer Premises Equipment (CPE) กับบรอดแบนด์สวิตชิงเน็ตเวอร์กเข้าด้วยกัน ข้อต้องการด้านปลายทางได้มีว่าแอ็กเซสสำหรับผู้ใช้ในรูปของแบนด์วิดธ์จะอยู่ระหว่าง 1.5 ถึง 9 Mbit/s ส่วนในด้านต้นทางนั้นจะต้องการแบนด์วิดธ์ในระดับ 10 Kbit/s สำหรับการส่งสัญญาณในอนาคตอาจมีความต้องการแบนด์วิดธ์ที่สูงขึ้นในด้านต้นทางเพื่อสามารถในการสนับสนุนการใช้บริการวิดีโอแบบสองทางรวมทั้งสำหรับเกมชนิดต่าง ๆ ที่ต้องการการโต้ตอบในเชิงปฎิสัมพันธ์ที่สูงมาก ๆ
ในปัจจุบันได้มีระบบแอ็กเซสชนิดต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนให้บริการ VOD แบบปฏิสัมพันธ์ เช่น
- ADSL (Asymmetric Digital Snbscriber Loop)
- แอ็กเซสเน็ตเวอร์กบนฐานของ FITL(Fiber In The Loop)
- HFC (Hybrid Fiber Coax)
- LMDS (Llcal Multichannel Distribution Services)
นอกจากนี้ก็มีเทคโนโลยีในด้านดาวเทียมที่จะเข้ามามีบทบาทในการให้บริการการส่งสัญญาณที่เป็นแบบดิจิตอล สำหรับการให้บริการที่เป็น real interactivity นั้นยังไม่สบผลสำเร็จเท่าที่ควร คือยังต้องอยู่ในรูปของ abstraction โดยอาศัย DBS (Direct Broadcast by Satellite)
เทคนิคในการแอ็กเซสแต่ละแบบที่กล่าวในข้างต้นต่างก็มีข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น คือในปัจจุบันยังไม่มีแอ็กเซสเทคนิคชนิดใดที่สนองข้อต้องการทุกด้านของโอเปอเรเตอร์ทุกรายได้ จึงต้องอาศัยหลักที่ว่าแอ็กเซสเทคนิคที่เหมาะที่สุดสำหรับสภาพแวดล้อมของเน็ตเวอร์กแบบใดแบบหนึ่งนั้นจะขึ้นกับเคเบิลแพลนท์ (cable plant) ที่ได้ก่อสร้างติดตั้งอยู่แล้วอันอาจเป็นสายโทรศัพท์แบบ twisted pair, coax ฯลฯ รวมทั้งการต้องขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของโอเปอเรเตอร์แต่ละรายอันทำให้มีควาามจำเป็นต้องพัฒนาสิ่งที่จะเข้ามาให้การสนับสนุนระบบแอ็กเซสที่มีอยู่แล้วเพื่อให้แอ็กเซสเทคนิคต่างชนิดกันทำงานร่วมกันได้ ดังในรูปที่ 2 ซึ่งแสดงการเชื่อมโยงเทคนิคต่าง ๆ ดังกล่าวเข้ากับแอ็กเซสอะแดปเตอร์ (access adapter) ที่ทำหน้าที่เป็นอินเทอร์เฟสมาตรฐานให้แก่ทั้ง สวิตช์เน็ตเวอร์ก (switched network) และเทอร์มินัลต่าง ๆ (เช่น set tops เครื่องรับโทรศัพท์ ฯลฯ)
ADSL
เทคโนโลยีที่เป็น ADSL จะเป็นการส่งข้อมูลแบบดิจิตอลด้วยความเร็วสูงโดยอาศัยสายโทรศัพท์เป็น twisted pair เพียงคู่เดียวรูปแบบของแอ็กเซสเน็ตเวอร์กสำหรับ VOD โดยอาศัย ADSL ได้แสดงไว้ในรูปที่ 3 ขีดความสามารถในการส่งสัญญาณที่ได้ชื่อว่าเป็น Asymmetric สำหรับกรณีนี้ก็เพราะว่าบิตเรตที่อยู่ตรงปลายทางและต้นทางจะต่างกันในแง่ที่ว่าบิตเรตตรงปลายทาง (เช่นจากสวิตช์ไปยังบ้านของผู้ใช้บริการ) จะอยู่ระหว่าง 1.5 ถึง 8 Mbit/s ซึ่งจะสูงกว่าบิตที่อยู่ตรงต้นทางมาก บิตเรตที่ต้นทางสำหรับกรณีนี้เท่ากับ 16 ถึง 440 kbit/s อันจะขึ้นกับการให้บริการแบบสองทางว่าเป็นบริการชนิดใดบ้าง ในแง่ของระยะทางก็มีว่าระยะทางที่จะให้ผลดีที่สุดในการใช้บริการ VOD จะแปรตั้งแต่ 2 กม. (6 Mbit/s สำหรับปลายทาง+640 Kbit/s แบบสองทาง) จนถึงระยะทางการรับส่ง 5.4 กม. (2 Mbit/s ปลายทาง + 16 Kbit/s ต้นทาง) นอกเหนือจากความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูลด้วยความเร็วสูงแล้ว ADSL ยังมีความสามารถในการมัลติเพล็กซ์ (multiplex) ข้อมูลข่าวสารที่เป็นดิจิตอลโดยอาศัย analog voice channel แบบที่เคยใช้กันอยู่ ซึ่งหมายถึงว่าลูกค้าที่ใช้บริการทางโทรศัพท์ที่เรียกว่าอะนาล็อก POTS (Plain Old Telephone Service) อยู่แล้วยังคงสามารถใช้บริการเช่นนี้ต่อไปในขณะที่สามารถแอ็กเซสเข้าไปใช้บริการแบบดิจิตอลที่มีอัตราเร็วสูงเมื่อได้มีการเพิ่มเติมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อันใหม่เข้าไปพร้อมด้วย ADSL ทรานซิฟเวอร์ (transceiver)ที่จะติดตั้งอยู่ในบ้านของผู้ใช้บริการ
ATM Passive Optical Network (APON)
ระบบ APON เป็น passive optical network ที่ให้การสนับสนุนบริการต่าง ๆ ที่เป็นบรอดแบนด์ ดังสถาปัตยกรรมที่ได้แสดงไว้ในรูปที่ 4 บิตเรตของเน็ตเวอร์กแบบนี้ในด้านปลายทางจะเป็น 622 หรือ 155 Mbit/s ในขณะที่ตรงต้นทางจะมีบิตเรตเท่ากับ 155 Mbit/s ซึ่งสำหรับในช่องต้นทางนั้นจะมีการแบ่งปันบิตเรตดังกล่าวในระหว่าง ATM Service Units (ASU) ที่มีอยู่ 16 ยูนิตด้วยกันในลักษณะที่เป็นไปอย่างยืดหยุ่น การจัดสรรแบนด์วิดธ์นี้จะขึ้นกับ peak bandwidth โดยจะเป็นการแบ่งที่มีขนาด 8 Kbit/s ระบบการจัดสรรแบนด์วิดธ์แบบนี้ทำให้สามารถ อัพเดตทรัพยากรในด้านแบด์วิดธ์ให้เป็นไปอย่างคล่องตัว รวมทั้งการสามารถที่จะให้บริการที่ไม่จำกัดประเภท ระบบที่เป็น AVON จะขนถ่ายข้อมูลโดยอาศัยหลักการของเซลล์ทั้งจุดที่อยู่ต้นทางและปลายทางอันก่อให้เกิดคอมแพตติบิลลิตี้กับ VOD เน็ตเวอร์กบนฐาน ATM ในเกือบจะทันทื ในทิศทางที่เป็นปลายทางนั้นจะมีการใช้ TDM (Time Division Multiplexing) เทคนิค ส่วนในด้านต้นทางก็จะมีการใช้ TDMA (Time Division Multiple Access) โปรโตคอล และในทั้งสองทิศทางดังกล่าว ATM เซลล์จะถูกผนึกอยู่ใน APON แพคเกจโดยจะมีแพคเกจขนาดเล็กที่เป็นโอเวอร์เฮด ผนวกติดเข้าไปในแต่ละ ATM เซลล์เพื่อสำหรับ synchronization และการทำหน้าที่ต่าง ๆ ในด้านเน็ตเวอร์ทรานสปอร์ต เช่น APON (APON Network Terusination) identification สำหรับมัลติฟิลแอ็กเซสคอนโทรล ตรงต้นทาง
ในทางปฏิบัตินั้น ASU อาจอยู่ในรูปของระบบโมดูล่าร์ (modular system) หรือในรูปของการนำ Optical Network Temination เข้ามารวมอยู่ด้วย จุดมุ่งหมายของระบบโมดูล่าร์ก็คือการมุ่งไปที่สหภาพแวดล้อมที่เป็น FTTB (Fiber to the Building) ซึ่งมีกลุ่มของ LIM (Line Interface Modules) ที่ทำหน้าที่ในด้านการให้บริการสนับสนุนที่เกี่ยวกับ terminal adaptation สิ่งที่เป็นรูปธรรมที่เกี่ยวกับ LIM ที่พอจะเห็นได้ในขณะนี้ก็คือ POTS, N-ISDN, วิดีโอดีโค้ดเดอร์ สำหรับการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่เป็นดิจิตอล Ethenet และ Frame Relay เป็นอาทิ โดยแต่ละ LIM จะทำหน้าที่ในด้าน AAL (ATM Adaptation Laper) ทำหน้าที่ในด้านไลน์อินเทอร์เฟส (line interface) นอกจากนี้อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีดังกล่าวยังมีขีดความสามารถในการเสียบแบบออนไลน์ (on line insertable) เข้าไปใน ATM Service Unit (ASU) พร้อม ๆ กันกับการอัพเดต Service Unit configuration และจัดสรรทรัพยากรแบบด์วิดธ์ที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ
ในแง่ของผลิตภัณฑ์นั้นสิ่งที่เป็น Optical Network Termination จะเป็นหน่วยอุปกรณ์ที่มีความกะทัดรัดมาก โดยจะทำหน้าที่เป็นอินเทอร์เฟสสำหรับ set top และเครื่องรับโทรศัพท์ ซึ่งมีแนวโน้มในการก้าวไปสู่แอพพลิเคชันที่เป็น FTTH (Fiber To The Home) ปัจจุบัน เซตท้อปอินเทอร์เฟสจะอาศัยมาตรฐานที่เรียกว่า E1/V24 อันเป็นมาตรฐานทางพฤตินัยสำหรับการทดลองให้บริการด้าน VOD ในระยะแรก ในอนาคตจะมีสิ่งที่เรียกว่า Digital Home Network (DHN) อินเทอร์เฟสซึ่งจะได้รับการสนับสนุนเป็นอันดับต่อไป
Hybrid Fiber Coax (HFC)
มาถึงจุดนี้ก็จำเป็นต้องขอยืมประสบการณ์จากยุโรป เพื่อพูดถึงผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า A 1570BB อันเป็นความถี่ทางวิทยุแบบดิจิตอลที่ได้พัฒนา โดย Alcatel เพื่อให้สามารถให้บริการที่มีขีดความสามารถต่าง ๆ ในด้าน Full Service Network รวมทั้งแอพพลิเคชันต่าง ๆ ที่เกี่ยวแก่ VOD แบบปฏิสัมพันธ์ดังในรูปที่ 5 ตรงส่วนบนของรูปที่ 5 เป็นระบบ A1570BB ซึ่งประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ ของออปติคัลแอมพลิฟลายเออร์ (optical amplifiers) และสปลิตเตอร์ (splitters) ซึ่งมาสิ้นสุดที่ BONT (Broadband Optical Network Termination), จาก BONT ก็จะมี coax drop ที่ขยายไปถึงผู้เป็นสมาชิก (ซึ่งจะมีสมาชิกประมาณ 100 ต่อหนึ่ง BONT) ในแง่ของสเปคตรัมของความถี่นั้นจะมีย่าน (เช่น 450 MHz) ที่สำรองไว้สำหรับการให้บริการในการแพร่ภาพแบบ CATU
LMDS
การแก้ปัญหาตามสโตล์ของ LMDS เป็นการมองไปในอนาคตในเรื่องของการใช้ระบบเซลลูล่าร์ที่ใช้สัญญาณวิทยุแบบ 28 GHz แบนด์ เพื่อสำหรับการส่งข้อมูลที่เป็นดิจิตอลวิดีโอแชนเนิล สำหรับ IVOD ดังในรูปที่ 6 ข้อต้องการในการให้บริการแบบ VOD สำหรับในกรณีนี้จะเป็นว่าจะต้องการให้มีระบบส่งสัญญาณวิทยุที่เป็นดิจิตอลแบบสองทาง ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยังหลาย ๆ จุด (point to multipoint configuration) และถ้าจะให้สรุปเพื่อให้เกิดความกระจ่างของเรื่องนี้ก็จะเป็นว่า LMDS แอ็กเซสควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
การสามารถให้บริการด้าน VOD ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งในเซตที่เป็นที่พักของผู้เป็นสมาชิกในการใช้บริการที่อยู่ในเมืองและอยู่ชานเมือง ในกรณีที่มีสเปกตรัมอย่างพอเพียง
ลดการลงทุนในแง่ของ up front investments ให้เหลือน้อยที่สุดอันเนื่องจากว่าผู้ที่เข้ามาเป็นสมาชิกในการใช้บริการต่าง ๆ จะเป็นผู้แบกค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เอาไว้ในทันทีที่มีการลงนามในสัญญาณเพื่อขอใช้บริการ
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยมาก
MPEG เอ็นโค้ดดิง
เทคนิคต่าง ๆ ที่พัฒนาโดย Moving Picture Expert Group (MPEG) นั้นมีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกยอมรับในแง่ของการโค้ด (coding) และการบีบอัด (compression) สัญญาณวิดีโอ คือนอกจากจะมีมาตรฐานที่เรียกว่า MPEG1 แล้วก็ยังมีมาตรฐานอันใหม่ที่เรียกว่า MPEG2 ที่มีฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาในนั้น เช่น การเพิ่มคุณภาพและขีดความสามารถ เพื่อให้การสนับสนุน HDTV (High Dofiaition TV)
ภายในมาตรฐานที่เป็น MPEG 2 จะเป็นวิธีการโค้ดดิ้งโดยทั่วไปสำหรับภาพยนตร์และเสียงที่เป็นส่วนประกอบอันเป็นมาตรฐานที่มีความทั่วไป (genetic) ในแง่ที่ว่าโค้ดครอบคลุมแอพพลิเคชันต่าง ๆ เช่น
- digital storage media รวมทั้งการแพร่ภาพโทรทัศน์
- บิตเรต (bit rates)
- ความคมชัดของภาพ และคุณภาพในการให้บริการต่าง ๆ นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของ coding algorithms ที่ถือว่าซับซ้อนมากดังตัวอย่างเช่น ระยะเวลาที่ใช้ในการโค้ดภาพยนตร์โดยทั่วไปจะต้องการการประมวลผลที่เรียกว่า off line process ที่ใช้เวลานับ 10 ชั่วโมง
ขณะนี้ก็ได้มีผู้ประกอบการรายใหญ่ในด้านสื่อสารโทรคมนาคมหลายราย (เช่น Alcatel) ที่ได้สร้างต้นแบบ MPEG2 เอ็นโค้ดเดอร์แบบรีลไทม์ โดยอาศัย Digital Signal Processors (DSPs) และได้ทำการทดสอบอยู่ (1994) ต้นแบบดังกล่าว (รูปที่ 7) ได้มีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
- วิดีโออินเทอร์เฟสยูนิต (video interface unit) ที่แปลงสัญญาณวิดีโออะนาล็อก ซึ่งเกิดจากกล้องถ่ายภาพวิดีโอให้อยู่ใน CCIR601 ฟอร์แมต
- วิดีโอเอ็นโค้ดเดอร์ ที่ทำหน้าที่ประมวลผลสำหรับ MPEG2 เอ็นโค้ดดิงของวิดีโอสตรีมที่ส่งเข้ามา
- ออดิโอเอ็นโค้นเดอร์ (audio encoder)
- signalling unit ที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลสัญญาณที่เป็น anxilligry ที่จำเป็นสำหรับการสื่อสารแบบจุดต่อจุด ระหว่างวิดีโอเซอร์ฟเวอร์กับผู้ใช้บริการ รวมทั้งระหว่างเซอร์ฟเวอร์และรีลไทม์โค้ดเตอร์ (real time coder)
- มัลติเพล็กเซอร์ (multiplexer) ซึ่งทำหน้าที่ควบหรือมัลติเพล็กซิงสำหรับสัญญาณเสียง วิดีโอ และข้อมูล รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายการที่ดีโค้ดเดอร์ (decoder) ต้องการ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการสร้างเสริมรายการต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่ โดยให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
- ไลน์ทรานสมิชชัน ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านแชนเนิลโค้ดดิงจากกระแสของสัญญาณที่เป็นแบบ MPEG2 binary stream ให้เป็นไลน์ฟอร์แมต ซึ่งอาจอาศัย ATM บน SDH (Synchronous Digital Hierarchy) และ/หรือ PDH(Plesiochronous Digital Hierarchy) รวมทั้ง 64-256 QAM (Quadrature Amplitude Mudulation) และ B703 ที่เป็น direct transport สำหรับ PDH
- เอ็นโค้ดเดอร์คอนโทรลเลอร์ (encoder controller) ที่สามารถควบคุมระบบทุกระบบรวมทั้งอินเทอร์เฟส ซึ่งต่อพ่วงโยงกับ gaft terminal และ mediation device ที่สัมพันธ์กับเน็ตเวอร์กแมนเนจเมนท์ฟังก์ชัน
วิดีโอเซอร์ฟเวอร์ (Video Server)
ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
วิดีโอสตอเรจ (video storage)
โดยทั่วไปแล้วจะมีการแยกระหว่าง ส่วนที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่เป็น storage part กับส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมที่เป็น control part หน้าที่ของ storage part ก็คือการเก็บเนื้อหาของรายการ รวมทั้งการสร้างสรรค์นำเนาใหม่ ๆ ของรายการโดยอาศัยเนื้อหาสาระจากที่มีอยู่แล้ว (รูปที่ 8) สตอเรจเทคโนโลยีที่ใช้ในการนี้ก็มีอาทิเช่น
- Winchester Hard Disks
- RAID (Radundant Array of Inexpensive Disks) เทคโนโลยี
- Dram สตอเรจ
- เทปไดรฟ์ เช่น DAT (digital andio E tape)
นอกจากนี้ก็ยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงสำหรับในเรื่องของ MPEG เอ็นโค้ดดิงในแง่ที่ว่า
Server Control
ซึ่งทำหน้าที่เป็นปลายทางที่จะ terminate สัญญาณสำหรับผู้ใช้บริการและดูแลในด้านการควบคุมโดยทั่วไปในเรื่องของวิดีโอเซอร์ฟเวอร์
Data/signalling flows
หน้าที่ของวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ก็คือการทำหน้าที่ที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงที่เป็นทิศทางเดียวสำหรับมหาชนในรูปของการเชื่อมโยงกับเน็ตเวอร์กของการสื่อสารที่เป็นแบบไฮแบนด์วิดธ์ ดังในรูปที่ 8 อันเป็นการเชื่อมโยงที่ประกอบด้วยวิดีโอสตรีมเดี่ยว (เช่น Z Mbit/s) กับสิ่งที่เป็นเสียงและข้อมูล รวมทั้งการฝากผังข้อมูลข่าวสารในเชิงบังคับสั่งการที่เป็นระยะไกลในรูปของ embedded control information ในกรณีที่สิ่งที่เป็นต้นกำเนิดอันเป็นการแปลงข่าวของวิดีโอ (video souruce) จะมีความต้องการการเชื่อมโยงแบบสองทางกับส่วนที่เรียกว่า เซอร์ฟเวอร์คอนโทรล (server control ) ฯลฯ
Customer Premises Equipment (CPE)
ได้มีการแบ่งสถาปัตยกรรมของ CPE เป็นสองแบบคือ
1. เป็นการแยก network termination ออกจาก set top (รูปที่ 9)
2. รวม network termination เข้ากับ set top
หน้าที่ของ set top ก็คือการดีโค้ด (decode) MPEG วิดีโอ ออดิโอสตรีม รวมทั้งการเป็นอินเทอร์เฟสสำหรับเครื่องรับโทรทัศน์รวมทั้งการทำหน้าที่อื่น ๆ เช่น
- การเป็นอินเทอร์เฟสสำหรับผู้ใช้
- conditional access (encryption)
- การควบคุม password
- สมาร์ทการ์ด
- อ่านบัตรเครดิต
- joysticks
นอกจากนี้ก็ยังมีการแบ่ง set top ออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. แบบ low end ที่พัฒนาไปจากในปัจจุบัน
2. แบบ high end ซึ่งอาศัยเวอร์กสเตชันหรือพีซี
VOD ขั้นทดลองของ Alcatel
ระบบที่เป็นขั้นทดลองในการให้บริการที่เป็น VOD ซึ่งจะนำมาพูดในที่นี้จะเป็นแบบ end to end ATM solution ที่พัฒนาโดยบริษัท Alcatel โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการทดลองและเพื่อแสดงความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีบางอย่างเพื่อให้บริการแบบนี้ (รูปที่ 10)
ระบบตามที่แสดงในรูปที่ 10 นั้นได้สร้างจากอุปกรณ์ที่เป็นบรอดแบนด์สวิตช์แบบ A1000 ของบริษัท Alcatel โดยอาศัย ATM Passive Optical Network (APON) ให้ทำหน้าที่เป็นแอ็กเซสเน็ตเวอร์ก พร้อมด้วยวิดีโอเซอร์ฟเวอร์และ ATM Service Unit (ASU) หน้าที่ของระบบเช่นนี้ก็คือการให้บริการด้าน VOD แบบปฏิสัมพันธ์แก่ผู้ใช้บริการหลายร้อยราย โดยมีภาพยนตร์ที่เก็บสำรองไว้ให้ผู้ใช้บริการเลือกชมเป็นจำนวนมาก (นับเป็นร้อยเรื่อง" ซึ่งจะมีการเก็บภาพยนตร์ดังกล่าวในรูปของ library
การให้บริการในด้าน IVOD จะเป็นไปในรูปที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถบังคับควบคุมการชมภาพยนตร์ เช่น การเริ่มชมการหยุดเพราะจบเรื่อง การหยุดชั่วคราว การเร่งไปข้างหน้า เพื่อให้สามารถเห็นเหตุการณ์ในภาพยนตร์ได้เร็วขึ้น และการรีไวนด์ นอกจากนี้ระบบเช่นที่แสดงในรูปที่ 10 ยังมีเครื่องอำนวยความสะดวกอื่น ๆ สำหรับผู้ชม เช่น Graphical User Interface (GUI) ที่ทำงานโดยอาศัยหลักของ Tree structure โดยในแต่ละโหนด (node) จะสัมพันธ์โดยตรงกับหนึ่งภาพของ MPEG-coded still image
งานพัฒนาอีกส่วนหนึ่งของบริษัท Alcatel ก็คือการออกแบบ VOD เซอร์ฟเวอร์ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้ชมสามารถเพลย์แบค MPEG สตรีมในรูปของรีลไทม์ ซึ่งจะประกอบด้วยแถบของฮาร์ดดิสค์ที่อินเทอร์เฟสกับ ATM เน็ตเวอร์กโดยผ่านทาง Media Control Board (MCB) MCB จะอ่านส่วนของวิดีโอที่มีผู้ต้องการจะดูโดยอ่านจากดิสค์แล้วส่งไปที่สวิตช์ด้วยอัตราความเร็วคงที่ (เช่น อาจเป็น 2 Mbit/s ข้อมูลที่เป็นวิดีโอจะเก็บไว้ในดิสค์โดยใช้ ATM ฟอร์แมต นอกจากนี้ก็มีการเพิ่มสิ่งที่เรียกว่า ATM Adaptation Layer เข้าไปในรูปขอออฟไลน์เพื่อให้การสนับสนุนภาพวิดีโอที่ได้รับการบีบอัดแล้วโดยอยู่ในรูปของ MPEG ซึ่งทั้งหมดนี้จะเก็บอยู่ใน A 1000 แรค โดยหนึ่งแรคจะมีดิสค์อยู่ 96 ตัว
อุปกรณ์ชิ้นสุดท้าย VOD trial system (รูปที่ 10) ก็คือ Video Server Control Station ซี่งทำหน้าที่รับสัญญาณจากผู้ใช้บริการแล้วแปลงเป็นคำสั่งที่เหมาะสมเพื่อส่งไปยังเซอร์ฟเวอร์สเตอเรจ ส่วนในแง่ของการบริหารจัดการนั้นก็จะมี Service Operation Center ที่คอยกำกับการทำงานของระบบวิดีโอและจัดการในเรื่องของทรัพยากรที่มีอยู่ในเซอร์ฟเวอร์รวมทั้งการจัดการในด้านการเข้าเป็นสมาชิกสำหรับ VOD
สรุป
จากประสบการณ์ในการทำธุรกิจเพื่อให้เช่าวิดีโอเท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้สำหรับในหลาย ๆ ประเทศได้แสดงว่าการให้บริการในด้าน VOD จะต้องการ
- รายการใหม่ ๆ
- การเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่เน็ตเวอร์กที่มีอยู่แล้วหรือเปลี่ยนใหม่หมด
- เพิ่มระบบใหม่ ๆ เข้าไป
เพื่อเป็นโอกาสทางการค้าสำหรับผู้ขายอุปกรณ์โอเปอเรเตอร์และผู้ให้บริการด้านนี้เพราะการให้บริการต่าง ๆ ที่เป็นแบบปฏิสัมพันธ์เท่าที่พูดมาทั้งหมดนี้จะก่อให้เกิดมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการให้บริการ B-ISDN โดยทั่วไป ซึ่งจะทำรายได้ให้แก่ผู้เป็นโอเปอเรเตอร์และสร้างความพอใจให้แก่ผู้ใช้บริการ ความสำคัญของธุรกิจในด้าน VOD ในต่อ ๆ ไปนั้นจะเป็นแรงกระตุ้นในเรื่องของการกำหนดมาตรฐานทางอุตสาหกรรมของเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการรุดหน้าทางการค้า ในเวลาเดียวกัน ยังจะต้องมีการค้นคว้าวิจัยในด้าน VOD ต่อไปอีก โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เป็นส่วนสำคัญในเรื่องนี้ รวมทั้งการที่ผู้ขายอุปกรณ์ด้าน VOD ซึ่งจะต้องทำการทดลองในสนามให้มากขึ้น ตลอดจนการร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์
แหล่งที่มา http://www.school.net.th/library/snet1/network/vod.htm
วิวัฒนาการของการสื่อสารมวลชนของหลาย ๆ ประเทศ มักเริ่มด้วยการมีสถานีวิทยุกระจายเสียง จากนั้นก็พัฒนาไปสู่การส่งหรือการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่เป็นดำขาวแล้วเป็นสี อันเป็นการให้ข่ายสารและสาระบันเทิงแบบกวาดกว้างสำหรับคนทุกคนที่มีเครื่องรับ จนถึงจุดหนึ่ง อุตสาหกรรมด้านโทรทัศน์ก็จะพัฒนาไปสู่การให้บริการต่าง ๆ ในรูปของพหุสื่อที่เป็นแบบปฏิสัมพันธ์ (Interactive Multimedia Services) เช่นที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เมื่อไม่กี่ปีมานี้ หนึ่งในการให้บริการดังกล่าวก็คือการสื่อสารในรูปของวิดีโอดีมานด์ (Video On Demand หรือ VOD) อันเป็นการให้บริการแบบปฎิสัมพันธ์ในรูปต่าง ๆ ในลักษณะของบรอดแบนด์ (broad band) ซึ่งกำลังเป็นที่ยอมรับของตลาดโดยมีกลุ่มเป้าหมายแรกที่เป็นผู้ใช้บริการที่อยู่ตามบ้าน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักในขั้นต้นสำหรับบริการที่เป็น VOD จากนั้นก็มีการคาดกันว่าการให้บริการ VOD จะกระจายไปสู่บริษัทอันเป็นธุรกิจประเภทต่าง ๆ เรื่อยไปจนถึงสถาบันการศึกษา
สิ่งดึงดูดใจในเรื่องของ VOD สำหรับผู้ใช้ตามบ้านก็คือการมีรายการและภาพยนตร์ใหม่ ๆ ให้เลือกชมได้มากมาย ความหลากหลายของรายการที่จะมี อาทิเช่น ข่าว ความบันเทิง หรือสารคดีที่เป็นแบบหลายตอนจบ แคตาล็อกสำหรับชอปปิง ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตลาดทุน (stock exchange information) รวมทั้งเกมการเล่นแบบต่าง ๆ และบริการในด้านข้อมูลเฉพาะด้านตามความต้องการของผู้ชม
การเลือกชมรายการดังกล่าวเป็นการเลือกไปจากบ้าน (หรือที่ทำงาน) และรายการที่ผู้ชมได้เลือกจะไปถึงที่บ้าน (หรือที่ทำงาน)ภายในเวลาอันสั้น (นาทีหรือวินาที) ภายหลังจากที่ได้มีการสั่ง ซึ่งก็จะมีการเรียกเก็บเงินจากผู้ชมหรือผู้ใช้บริการโดยคิดเป็นรายการหรือคิดตามระยะเวลา รายการที่มีให้เลือกจากที่บ้านเท่าที่มีอยู่ในขณะนี้สำหรับในหลายประเทศก็มีอาทิเช่น ในรูปของ Pay-TV และ Pay-perview ซึ่งในต่อ ๆ ไปก็จะมีบริการแบบ VOD เช้ามาเสริม โดยในขั้นแรกอาจอยู่ในรูปของ Near Video-On-Demand (NVOD) ซึ่งผู้ชมสามารถเลือกดูรายการต่าง ๆ จากที่มีอยู่โดยเริ่มดูได้ตามช่วงเวลาที่มีการกำหนดไว้ล่วงหน้าเช่นทุก 15 หรือ 30 นาที รายการประเภทนี้จะเก็บไว้ในรูปของ compressed form ในสเตอเรจดีไวซ์ พัฒนาการขั้นต่อไปก็อาจเป็นไปในรูปของ Interactive Video-On-Demand (IVOD) อันเป็นการให้บริการที่อาศัยอุปกรณ์สับเปลี่ยนที่เป็น switched basis และอาศัยระบบสื่อสารโทรคมนาคม โดยอยู่ภายใต้การดูแลของเคเบิลโอเปอเรเตอร์และผู้ให้บริการ การเรียกเพื่อขอชมรายการในรูปของ IVOD นี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการควบคุมในรูปของ VCR นอกจากนี้ก็จะมีประเภทของรายการให้เลือกดูได้ยืดหยุ่นมากขึ้น เพราะผู้ชมแต่ละรายจะได้รับสำเนาของรายการเฉพาะเป็นจำนวนหนึ่งชุด โดยอาศัยการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด อันทำให้ต้องมีสเตอเรจที่ใหญ่ขึ้น การให้บริการที่เป็นพหุสื่อในรูปของ IVOD จึงสิ้นค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็จะได้รับความนิยมจากผู้ใช้มากขึ้น
การรุดหน้าของสื่อสารที่เป็น VOD ได้อาศัยเทคโนโลยีที่เป็นฐานอยู่หลายอย่างที่ได้รับการพัฒนามาจนขั้นใช้การได้เป็นอย่างดี ดังจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป สิ่งที่ทำให้ VOD เป็นไปได้ในอีกไม่ช้าก็คือ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ลดลงเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากการรุดหน้าของเทคโนโลยีในด้านการสื่อสารและอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ รวมทั้งองค์กรที่ทำหน้าควบคุมด้านการสื่อสารของหลาย ๆ ประเทศ(เช่น FCC ของสหรัฐ) ที่มีส่วนทำให้การสื่อสารอันล้ำยุค เช่น VOD มีความเป็นไปได้ภายในระยะอันสั้น ดังจะเห็นจากการที่ FCC ของสหรัฐฯ ได้อนุมัติให้ RBOC (Regional Bell Operating Companies) ในการให้บริการในด้าน VOD เมื่อปี 1992
สถาปัตยกรรมของเน็ตเวอร์ก องค์ประกอบ
สถาปัตยกรรมและสิ่งที่เป็นระบบย่อยสำหรับ VOD เน็ตเวอร์กได้แสดงไว้ในรูปที่ 1 ซึ่งประกอบด้วย VOD เซอร์ฟเวอร์ ส่วนต่าง ๆ ของบรอดแบนด์สวิตชิงเน็ตเวอร์ก ส่วนที่ทำหน้าที่ในด้านแอ็กเซส (Access Arrangements) และอุปกรณ์ปลายทางของลูกค้า (Customer Premises Equipment หรือ CPE)
ภายในวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ (video server (s))เป็นที่บรรจุวิดีโอโปรแกรมต่าง ๆ ที่ได้รับการบีบอัดแล้ว รวมทั้งสำเนาของสัญญาณวิดีโอที่พร้อมที่จะสนองความต้องการโดยผ่านทางเน็ตเวอร์กของผู้ใช้ นอกจากนี้ภายในเซอร์ฟเวอร์ยังเป็นที่บรรจุเอ็นโค้ดเดอร์ของรีลไทม์ (Moving Picture Expert Group (MPEG) เพื่อสำหรับการแอ็กเซสไปสู่รายการสดต่าง ๆ โดยผู้ที่ให้บริการรายใดรายหนึ่งเป็นเจ้าของเซอร์ฟเวอร์หรือกลุ่มของเซอร์ฟเวอร์ ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งเป็นเจ้าของเซอร์ฟเวอร์หรือกลุ่มของเซอร์ฟเวอร์ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ให้บริการช่วง (multiple service providers) สามารถใช้ประโยชน์จากเซอร์ฟเวอร์ดังกล่าวในการให้บริการแก่ลูกค้าโดยอาศัยเน็ตเวอร์กเดียวกัน นอกจากนี้ผู้ที่เป็นเน็ตเวอร์กโอเปอเรเตอร์ยังสามารถเป็นเจ้าของวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ต่าง ๆ เพื่อนำขีดความสามารถที่เหลืออยู่ไปให้ผู้ให้บริการรายอื่นๆเช่าต่อ นอกจากนี้ก็มีส่วนที่เรียกว่า headend อันเป็นจุดที่ทำหน้าที่ประมวลผลสัญญาณทีวีที่มาจากที่อื่นและที่มาจากจุดใกล้เคียงก่อนที่จะแปลงเป็นสัญญาณแสงสำหรับส่งข้ามเน็ตเวอร์ก ต่อไปก็จะเป็นห้องสมุดวิดีโอ (video library) ที่เป็นระบบสารบรรณซึ่งเป็นที่เก็บภาพยนตร์ต่าง ๆ ซึ่งอยู่ในรูปที่บีบอัดแล้ว (compressed format) รวมทั้งการทำหน้าที่ในด้าน batch load สำหรับวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ต่าง ๆ ซึ่งมีเนื้อหาสาระของรายการที่เหมาะสมสำหรับการเรียกดูในแบบรีลไทม์ (realtime)
หน้าที่ของบรอดแบนด์สวิตชิงเน็ตเวอร์กในกรณีนี้ก็คือการเป็นอินเตอร์คอนเนคชันระหว่างเน็ตเวอร์กซับซิสเต็มส์ต่าง ๆ ในสถาบัตยกรรม VOD โดยจะทำหน้าที่ในด้านการส่งสัญญาณและการส่งข้อมูลของรายการจากนี้ก็มีสิ่งที่เรียกว่า แอ็กเซสเน็ตเวอร์ก (access network) ของแอ็กเซสแบบต่าง ๆ จากแกนของเน็ตเวอร์กไปยัง CPE (Customer Premises Equipment) ซึ่งรวมถึง Access Premises Equipment) ซึ่งรวมถึง Access Multiplexing Arrangements และ Network Teminations (NT) การแอ็กเซสด้วยสายทองแดงในรูปของ Asymmetrical Digital Subscriber Loop (ADSL) ออปติคัลไฟเบอร์โคแอกเชียลอินเทอร์เฟส (โดยใช้ดิจิตอลโมดูเลชัน) และเรดิโออินเทอร์เฟส (เช่น Local Multichannel Distribution Services: LMDS) ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ สิ่งที่เป็น CPE อาจเป็น integrated set top ที่เป็นของประจำตัวสำหรับเครื่องโทรทัศน์ หรืออาจอยู่ในรูปของโมดูล่าร์ซับสคริบเบอร์ยูนิต (modular subscriber unit) ที่รับผิดชอบในด้าน user selectable services แบบเต็มที่ในแง่ของการเป็นจุดเชื่อมต่อเข้าไปในบ้านของผู้ใช้บริการ สำหรับผู้ที่เป็นเน็ตเวอร์กโอเปอเรเตอร์ในแง่แมนเนจเมนท์ตามในรูปที่ 1 นั้นก็จะมี Operational Systems ของแต่ละส่วน (element managers) ซึ่งจำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานและการบริหาร VOD เน็ตเวอร์จากปลายหนึ่งไปยังอีกปลายหนึ่ง Operational Systems จะสื่อสารกับส่วนต่าง ๆ ของเน็ตเวอร์กโดยอาศัยอินเทอร์เฟสมาตรฐานของทั้งอินฟอร์เมชันโมเดล (information models) ที่เป็นไปตามมาตรฐานของ TMN (Telecommunication Management Network)
สุดท้ายก็มีเซอร์วิสเกตเวย์ (service gateway) ที่ทำหน้าที่เป็นอินเทอร์เฟสให้แก่ลูกค้าในการเชื่อมโยงกับวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ จากจุดของผู้ให้บริการ โดยอาศัย session control โดยเซอร์วิสเกตเวย์จะดูแลลูกค้าเป็นกลุ่มและจะมีการเพิ่มเกตเวย์ดังกล่าวตามปริมาณของ service penetration ที่เพิ่มขึ้น รูปแบบของเซอร์วิสเกตเวย์อาจเป็นไปได้ทั้งในรูปขององค์ประกอบของเน็ตเวอร์กที่แยกออกมาต่างหาก(เช่นในกรณีของ Intelligent Network Architecture)หรือรวมกับองค์ประกอบของเน็ตเวอร์ก (เช่นในวิดีโอเซอร์ฟเวอร์) ถัดไปก็เป็นเซอร์วิสโอเปอเรชันเซ็นเตอร์ (service operation center) ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำหรับผู้ให้บริการในด้านของ
- การจัดรายการต่าง ๆ ที่จะกระจายไปสู่วิดีโอเซอร์ฟเวอร์ต่าง ๆ
- บริหารจัดการในด้านเซอร์วิสโอเปอเรชัน สำหรับกลุ่มลูกค้า รวมทั้งการเรียกเก็บเงิน (billing) การดูแลสมาชิก (subscriber management)การตลาดสำหรับการจัดรายการและการโฆษณา
เซอร์วิสโอเปอเรชันเซ็นเตอร์อาจเป็นองค์ประกอบอันหนึ่งของเน็ตเวอร์กที่แยกออกมาต่างหาก (หรือเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ในกรณีของ multiple service providers) หรือสำหรับในกรณีที่เป็นเน็ตเวอร์กขนาดเล็กก็อาจรวมเข้ากับวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ได้
เหตุผลในการใช้ ATM เทคโนโลยี
สถาปัตยกรรมของ VOD ได้ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Asynchronous Transfer Mode (ATM) ในแง่ที่ว่าข้อมูลของรายการต่าง ๆ จะสร้างขึ้นมาในวิดีโอเซอร์ฟเวอร์แล้วแปลงให้เป็น ATM โหมด จากนั้นก็จะมีการส่งข้อมูลผ่านแอ็กเซสเน็ตเวอร์ก โดยอาศัย ATM เซลล์ โดย set-up unit จะทำหน้าที่เป็นปลายทางสำหรับ ATM โปรโตคอลในวิดีโอออดิโอดีโค้ดเดอร์ (video-audio decoder) ส่วนเหตุผลที่ผู้ประกอบการในด้านสื่อสารโทรคมนาคมบางรายได้เลือกใช้ ATM ก็เพราะว่า
1. มีความยืดหยุ่นในด้านแบนด์วิดธ์ ในแง่ของการสามารถสนองความต้องการในด้านแบนด์วิดธ์ในแง่ของการสามารถสนองความต้องการในด้านแบด์วิดธ์สำหรับการให้บริการในด้านวิดีโอที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เช่นในปัจจุบันก็จะเห็นว่ามาตรฐานในด้านวิดีโอคอมเปรสชันสำหรับ MPEG-1 ได้กำหนดไว้ที่ 1.5 Mbit/s ส่วนมาตรฐาน MPEG-2 จะทำงานที่แบนด์วิดธ์ซึ่งอยู่ระหว่าง 1.5 และ 9 Mbit/s มาตรฐานของHDTV จะอยู่ที่บิตเรตระหว่าง 20 ถึง 40 Mbit/s และภายในห้าปีนับจากนี้ตัวเลขต่าง ๆ ดังกล่าวก็จะเปลี่ยนแปลงไปอีก
ในอีกด้านหนึ่งก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องของเทคโนโลยีของแอ็กเซสเน็ตเวอร์ก (access network) ในแง่ที่ว่าขีดความสามารถของแอ็กเซสแบนด์วิดธ์ต่อผู้ใช้หนึ่งรายจะแปรระหว่าง 1.5 Mbit/s ส่วนมาตรฐาน MPEG-2 จะทำงานที่แบนด์วิดธ์ซึ่งอยู่ระหว่าง 1.5 และ 9 Mbit/s มาตรฐานของ HDTV จะอยู่ที่บิตเรตระหว่าง 20 ถึง 40 Mbit/s และภายในห้าปีนับจากนี้ตัวเลขต่าง ๆ ดังกล่าวก็จะเปลี่ยนแปลงไปอีก ในอีกด้านหนึ่งก็จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องของเทคโนโลยีของเอ็กเซสเน็ตเวอร์ก (access network) ในแง่ที่ว่าขีดความสามารถของแอ็กเซสแบนด์วิดธ์ต่อผู้ใช้หนึ่งรายจะแปรระหว่าง 1.5 ถึง 6 Mbit/s สำหรับADSL และนับเป็นสิบ Mbit/s สำหรับโคแอ็ก (coax) และไฟเบอร์ (fiber) อันจะขึ้นกับชนิดของสถาปัตยกรรม เมื่อเป็นเช่นนี้ VOD เน็ตเวอร์กที่จะปลอดภัยสำหรับการใช้งานในอนาคตจะต้องโปร่งใส สำหรับวิวัฒนาการในด้านแบนด์วิดธ์ดังกล่าวซึ่งน่าจะมีเพียง ATM เท่านั้นที่จะสามารถสนองความต้องการเท่าที่พูดมาทั้งหมดนี้ได้
2. Service mix การให้บริการVOD ในขั้นแรกจะเป็นแบบซิงเกิลคอนเนคชันสำหรับผู้ใช้รายเดียว จากนั้นก็อาจพัฒนาไปเป็นการมีหลาย ๆ คอนเนคชันสำหรับผู้ใช้แต่ละราย การมีความโปร่งใสในเรื่องของแบนด์วิดธ์จะทำให้เกิดความสมดุลระหว่าง จำนวนแชนเนิลต่อผู้ใช้แต่ละราย กับแบนด์วิดธ์ที่ได้ใช้ไปแล้วตัวอย่างเช่น ถ้ามีการใช้ ADS เน็ตเวอร์กที่มีแบนด์วิดธ์เท่ากับ 6 Mbit/s ก็ยังสามารถให้บริการแบบหนึ่งรายการที่ 6 Mbit/s สองรายการที่ 3 Mbit/s สามรายการที่ 2 Mbit/s ฯลฯ โดยระบบ VOD ที่อยู่บนฐาน ATM จะมีความยีดหยุ่นเป็นอย่างดีสำหรับกรณีเช่นนี้
ได้มีการคาดกันว่าการเกิดมีบริการที่เป็น VOD นี้จะก่อให้เกิดบริการใหม่ ๆ ในโลกของการสื่อสารโทรคมนาคมอันจะเป็นที่นิยมยอมรับของคนทั่วไปทั้งที่อยู่ตามบ้านและในที่ทำงาน คือเมื่อโครงสร้างพื้นฐานของ VOD เริ่มเข้าที่ ก็จะเป็นของง่ายในการให้บริการต่าง ๆ ที่ต้องการแบนด์วิดธ์สูงในตอนปลายทาง (downstream) และต้องการบิตเรต (bit rate) ที่ต่ำในตอนต้นทาง (upstream) เช่นในกรณีของวิดีโอชอปปิง เช่นธุรกิจในการค้าด้านอสังหาริมทรัพย์ สำนักงานท่องเที่ยว) การศึกษาในระยะไกล การเข้าใช้ฐานข้อมูลแบบพหุสื่อ การดาวน์โหลด CD-ROM ต่าง ๆ รวมทั้งการใช้ CD-I ในเรื่องต่าง ๆ การดาวน์โหลดพวกเกมการเล่นและเกมแบบปฏิสัมพันธ์
3. คอมแพทติบิลิตี้ (compatibility) เนื่องจากได้มีการกำหนดให้ ATM เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูล (transfer mode) สำหรับบรอดแบนด์ ISDN (B-ISDN) การเลือกใช้เทคโนโลยีเช่น ATM จึงทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านต่าง ๆ ในโลกของการสื่อสารสามารถวิวัฒนาการไปสู่การให้บริการต่าง ๆ ที่เป็น B-ISDN แบบสามัญ (generic B-ISDN)
แอ็กเซสเน็ตเวอร์ก (Access Network)
แอ็กเซสเน็ตเวอร์กมีหน้าที่เชื่อมโยง Customer Premises Equipment (CPE) กับบรอดแบนด์สวิตชิงเน็ตเวอร์กเข้าด้วยกัน ข้อต้องการด้านปลายทางได้มีว่าแอ็กเซสสำหรับผู้ใช้ในรูปของแบนด์วิดธ์จะอยู่ระหว่าง 1.5 ถึง 9 Mbit/s ส่วนในด้านต้นทางนั้นจะต้องการแบนด์วิดธ์ในระดับ 10 Kbit/s สำหรับการส่งสัญญาณในอนาคตอาจมีความต้องการแบนด์วิดธ์ที่สูงขึ้นในด้านต้นทางเพื่อสามารถในการสนับสนุนการใช้บริการวิดีโอแบบสองทางรวมทั้งสำหรับเกมชนิดต่าง ๆ ที่ต้องการการโต้ตอบในเชิงปฎิสัมพันธ์ที่สูงมาก ๆ
ในปัจจุบันได้มีระบบแอ็กเซสชนิดต่าง ๆ ที่ให้การสนับสนุนให้บริการ VOD แบบปฏิสัมพันธ์ เช่น
- ADSL (Asymmetric Digital Snbscriber Loop)
- แอ็กเซสเน็ตเวอร์กบนฐานของ FITL(Fiber In The Loop)
- HFC (Hybrid Fiber Coax)
- LMDS (Llcal Multichannel Distribution Services)
นอกจากนี้ก็มีเทคโนโลยีในด้านดาวเทียมที่จะเข้ามามีบทบาทในการให้บริการการส่งสัญญาณที่เป็นแบบดิจิตอล สำหรับการให้บริการที่เป็น real interactivity นั้นยังไม่สบผลสำเร็จเท่าที่ควร คือยังต้องอยู่ในรูปของ abstraction โดยอาศัย DBS (Direct Broadcast by Satellite)
เทคนิคในการแอ็กเซสแต่ละแบบที่กล่าวในข้างต้นต่างก็มีข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งนั้น คือในปัจจุบันยังไม่มีแอ็กเซสเทคนิคชนิดใดที่สนองข้อต้องการทุกด้านของโอเปอเรเตอร์ทุกรายได้ จึงต้องอาศัยหลักที่ว่าแอ็กเซสเทคนิคที่เหมาะที่สุดสำหรับสภาพแวดล้อมของเน็ตเวอร์กแบบใดแบบหนึ่งนั้นจะขึ้นกับเคเบิลแพลนท์ (cable plant) ที่ได้ก่อสร้างติดตั้งอยู่แล้วอันอาจเป็นสายโทรศัพท์แบบ twisted pair, coax ฯลฯ รวมทั้งการต้องขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของโอเปอเรเตอร์แต่ละรายอันทำให้มีควาามจำเป็นต้องพัฒนาสิ่งที่จะเข้ามาให้การสนับสนุนระบบแอ็กเซสที่มีอยู่แล้วเพื่อให้แอ็กเซสเทคนิคต่างชนิดกันทำงานร่วมกันได้ ดังในรูปที่ 2 ซึ่งแสดงการเชื่อมโยงเทคนิคต่าง ๆ ดังกล่าวเข้ากับแอ็กเซสอะแดปเตอร์ (access adapter) ที่ทำหน้าที่เป็นอินเทอร์เฟสมาตรฐานให้แก่ทั้ง สวิตช์เน็ตเวอร์ก (switched network) และเทอร์มินัลต่าง ๆ (เช่น set tops เครื่องรับโทรศัพท์ ฯลฯ)
ADSL
เทคโนโลยีที่เป็น ADSL จะเป็นการส่งข้อมูลแบบดิจิตอลด้วยความเร็วสูงโดยอาศัยสายโทรศัพท์เป็น twisted pair เพียงคู่เดียวรูปแบบของแอ็กเซสเน็ตเวอร์กสำหรับ VOD โดยอาศัย ADSL ได้แสดงไว้ในรูปที่ 3 ขีดความสามารถในการส่งสัญญาณที่ได้ชื่อว่าเป็น Asymmetric สำหรับกรณีนี้ก็เพราะว่าบิตเรตที่อยู่ตรงปลายทางและต้นทางจะต่างกันในแง่ที่ว่าบิตเรตตรงปลายทาง (เช่นจากสวิตช์ไปยังบ้านของผู้ใช้บริการ) จะอยู่ระหว่าง 1.5 ถึง 8 Mbit/s ซึ่งจะสูงกว่าบิตที่อยู่ตรงต้นทางมาก บิตเรตที่ต้นทางสำหรับกรณีนี้เท่ากับ 16 ถึง 440 kbit/s อันจะขึ้นกับการให้บริการแบบสองทางว่าเป็นบริการชนิดใดบ้าง ในแง่ของระยะทางก็มีว่าระยะทางที่จะให้ผลดีที่สุดในการใช้บริการ VOD จะแปรตั้งแต่ 2 กม. (6 Mbit/s สำหรับปลายทาง+640 Kbit/s แบบสองทาง) จนถึงระยะทางการรับส่ง 5.4 กม. (2 Mbit/s ปลายทาง + 16 Kbit/s ต้นทาง) นอกเหนือจากความสามารถในการถ่ายทอดข้อมูลด้วยความเร็วสูงแล้ว ADSL ยังมีความสามารถในการมัลติเพล็กซ์ (multiplex) ข้อมูลข่าวสารที่เป็นดิจิตอลโดยอาศัย analog voice channel แบบที่เคยใช้กันอยู่ ซึ่งหมายถึงว่าลูกค้าที่ใช้บริการทางโทรศัพท์ที่เรียกว่าอะนาล็อก POTS (Plain Old Telephone Service) อยู่แล้วยังคงสามารถใช้บริการเช่นนี้ต่อไปในขณะที่สามารถแอ็กเซสเข้าไปใช้บริการแบบดิจิตอลที่มีอัตราเร็วสูงเมื่อได้มีการเพิ่มเติมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อันใหม่เข้าไปพร้อมด้วย ADSL ทรานซิฟเวอร์ (transceiver)ที่จะติดตั้งอยู่ในบ้านของผู้ใช้บริการ
ATM Passive Optical Network (APON)
ระบบ APON เป็น passive optical network ที่ให้การสนับสนุนบริการต่าง ๆ ที่เป็นบรอดแบนด์ ดังสถาปัตยกรรมที่ได้แสดงไว้ในรูปที่ 4 บิตเรตของเน็ตเวอร์กแบบนี้ในด้านปลายทางจะเป็น 622 หรือ 155 Mbit/s ในขณะที่ตรงต้นทางจะมีบิตเรตเท่ากับ 155 Mbit/s ซึ่งสำหรับในช่องต้นทางนั้นจะมีการแบ่งปันบิตเรตดังกล่าวในระหว่าง ATM Service Units (ASU) ที่มีอยู่ 16 ยูนิตด้วยกันในลักษณะที่เป็นไปอย่างยืดหยุ่น การจัดสรรแบนด์วิดธ์นี้จะขึ้นกับ peak bandwidth โดยจะเป็นการแบ่งที่มีขนาด 8 Kbit/s ระบบการจัดสรรแบนด์วิดธ์แบบนี้ทำให้สามารถ อัพเดตทรัพยากรในด้านแบด์วิดธ์ให้เป็นไปอย่างคล่องตัว รวมทั้งการสามารถที่จะให้บริการที่ไม่จำกัดประเภท ระบบที่เป็น AVON จะขนถ่ายข้อมูลโดยอาศัยหลักการของเซลล์ทั้งจุดที่อยู่ต้นทางและปลายทางอันก่อให้เกิดคอมแพตติบิลลิตี้กับ VOD เน็ตเวอร์กบนฐาน ATM ในเกือบจะทันทื ในทิศทางที่เป็นปลายทางนั้นจะมีการใช้ TDM (Time Division Multiplexing) เทคนิค ส่วนในด้านต้นทางก็จะมีการใช้ TDMA (Time Division Multiple Access) โปรโตคอล และในทั้งสองทิศทางดังกล่าว ATM เซลล์จะถูกผนึกอยู่ใน APON แพคเกจโดยจะมีแพคเกจขนาดเล็กที่เป็นโอเวอร์เฮด ผนวกติดเข้าไปในแต่ละ ATM เซลล์เพื่อสำหรับ synchronization และการทำหน้าที่ต่าง ๆ ในด้านเน็ตเวอร์ทรานสปอร์ต เช่น APON (APON Network Terusination) identification สำหรับมัลติฟิลแอ็กเซสคอนโทรล ตรงต้นทาง
ในทางปฏิบัตินั้น ASU อาจอยู่ในรูปของระบบโมดูล่าร์ (modular system) หรือในรูปของการนำ Optical Network Temination เข้ามารวมอยู่ด้วย จุดมุ่งหมายของระบบโมดูล่าร์ก็คือการมุ่งไปที่สหภาพแวดล้อมที่เป็น FTTB (Fiber to the Building) ซึ่งมีกลุ่มของ LIM (Line Interface Modules) ที่ทำหน้าที่ในด้านการให้บริการสนับสนุนที่เกี่ยวกับ terminal adaptation สิ่งที่เป็นรูปธรรมที่เกี่ยวกับ LIM ที่พอจะเห็นได้ในขณะนี้ก็คือ POTS, N-ISDN, วิดีโอดีโค้ดเดอร์ สำหรับการแพร่ภาพโทรทัศน์ที่เป็นดิจิตอล Ethenet และ Frame Relay เป็นอาทิ โดยแต่ละ LIM จะทำหน้าที่ในด้าน AAL (ATM Adaptation Laper) ทำหน้าที่ในด้านไลน์อินเทอร์เฟส (line interface) นอกจากนี้อุปกรณ์หรือเทคโนโลยีดังกล่าวยังมีขีดความสามารถในการเสียบแบบออนไลน์ (on line insertable) เข้าไปใน ATM Service Unit (ASU) พร้อม ๆ กันกับการอัพเดต Service Unit configuration และจัดสรรทรัพยากรแบบด์วิดธ์ที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ
ในแง่ของผลิตภัณฑ์นั้นสิ่งที่เป็น Optical Network Termination จะเป็นหน่วยอุปกรณ์ที่มีความกะทัดรัดมาก โดยจะทำหน้าที่เป็นอินเทอร์เฟสสำหรับ set top และเครื่องรับโทรศัพท์ ซึ่งมีแนวโน้มในการก้าวไปสู่แอพพลิเคชันที่เป็น FTTH (Fiber To The Home) ปัจจุบัน เซตท้อปอินเทอร์เฟสจะอาศัยมาตรฐานที่เรียกว่า E1/V24 อันเป็นมาตรฐานทางพฤตินัยสำหรับการทดลองให้บริการด้าน VOD ในระยะแรก ในอนาคตจะมีสิ่งที่เรียกว่า Digital Home Network (DHN) อินเทอร์เฟสซึ่งจะได้รับการสนับสนุนเป็นอันดับต่อไป
Hybrid Fiber Coax (HFC)
มาถึงจุดนี้ก็จำเป็นต้องขอยืมประสบการณ์จากยุโรป เพื่อพูดถึงผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า A 1570BB อันเป็นความถี่ทางวิทยุแบบดิจิตอลที่ได้พัฒนา โดย Alcatel เพื่อให้สามารถให้บริการที่มีขีดความสามารถต่าง ๆ ในด้าน Full Service Network รวมทั้งแอพพลิเคชันต่าง ๆ ที่เกี่ยวแก่ VOD แบบปฏิสัมพันธ์ดังในรูปที่ 5 ตรงส่วนบนของรูปที่ 5 เป็นระบบ A1570BB ซึ่งประกอบด้วยชั้นต่าง ๆ ของออปติคัลแอมพลิฟลายเออร์ (optical amplifiers) และสปลิตเตอร์ (splitters) ซึ่งมาสิ้นสุดที่ BONT (Broadband Optical Network Termination), จาก BONT ก็จะมี coax drop ที่ขยายไปถึงผู้เป็นสมาชิก (ซึ่งจะมีสมาชิกประมาณ 100 ต่อหนึ่ง BONT) ในแง่ของสเปคตรัมของความถี่นั้นจะมีย่าน (เช่น 450 MHz) ที่สำรองไว้สำหรับการให้บริการในการแพร่ภาพแบบ CATU
LMDS
การแก้ปัญหาตามสโตล์ของ LMDS เป็นการมองไปในอนาคตในเรื่องของการใช้ระบบเซลลูล่าร์ที่ใช้สัญญาณวิทยุแบบ 28 GHz แบนด์ เพื่อสำหรับการส่งข้อมูลที่เป็นดิจิตอลวิดีโอแชนเนิล สำหรับ IVOD ดังในรูปที่ 6 ข้อต้องการในการให้บริการแบบ VOD สำหรับในกรณีนี้จะเป็นว่าจะต้องการให้มีระบบส่งสัญญาณวิทยุที่เป็นดิจิตอลแบบสองทาง ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณจากจุดหนึ่งไปยังหลาย ๆ จุด (point to multipoint configuration) และถ้าจะให้สรุปเพื่อให้เกิดความกระจ่างของเรื่องนี้ก็จะเป็นว่า LMDS แอ็กเซสควรมีคุณสมบัติ ดังนี้
การสามารถให้บริการด้าน VOD ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งในเซตที่เป็นที่พักของผู้เป็นสมาชิกในการใช้บริการที่อยู่ในเมืองและอยู่ชานเมือง ในกรณีที่มีสเปกตรัมอย่างพอเพียง
ลดการลงทุนในแง่ของ up front investments ให้เหลือน้อยที่สุดอันเนื่องจากว่าผู้ที่เข้ามาเป็นสมาชิกในการใช้บริการต่าง ๆ จะเป็นผู้แบกค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เอาไว้ในทันทีที่มีการลงนามในสัญญาณเพื่อขอใช้บริการ
เป็นเทคโนโลยีที่ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยมาก
MPEG เอ็นโค้ดดิง
เทคนิคต่าง ๆ ที่พัฒนาโดย Moving Picture Expert Group (MPEG) นั้นมีแนวโน้มว่าจะกลายเป็นมาตรฐานที่ทั่วโลกยอมรับในแง่ของการโค้ด (coding) และการบีบอัด (compression) สัญญาณวิดีโอ คือนอกจากจะมีมาตรฐานที่เรียกว่า MPEG1 แล้วก็ยังมีมาตรฐานอันใหม่ที่เรียกว่า MPEG2 ที่มีฟีเจอร์ใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาในนั้น เช่น การเพิ่มคุณภาพและขีดความสามารถ เพื่อให้การสนับสนุน HDTV (High Dofiaition TV)
ภายในมาตรฐานที่เป็น MPEG 2 จะเป็นวิธีการโค้ดดิ้งโดยทั่วไปสำหรับภาพยนตร์และเสียงที่เป็นส่วนประกอบอันเป็นมาตรฐานที่มีความทั่วไป (genetic) ในแง่ที่ว่าโค้ดครอบคลุมแอพพลิเคชันต่าง ๆ เช่น
- digital storage media รวมทั้งการแพร่ภาพโทรทัศน์
- บิตเรต (bit rates)
- ความคมชัดของภาพ และคุณภาพในการให้บริการต่าง ๆ นอกจากนี้ก็ยังมีเรื่องของ coding algorithms ที่ถือว่าซับซ้อนมากดังตัวอย่างเช่น ระยะเวลาที่ใช้ในการโค้ดภาพยนตร์โดยทั่วไปจะต้องการการประมวลผลที่เรียกว่า off line process ที่ใช้เวลานับ 10 ชั่วโมง
ขณะนี้ก็ได้มีผู้ประกอบการรายใหญ่ในด้านสื่อสารโทรคมนาคมหลายราย (เช่น Alcatel) ที่ได้สร้างต้นแบบ MPEG2 เอ็นโค้ดเดอร์แบบรีลไทม์ โดยอาศัย Digital Signal Processors (DSPs) และได้ทำการทดสอบอยู่ (1994) ต้นแบบดังกล่าว (รูปที่ 7) ได้มีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
- วิดีโออินเทอร์เฟสยูนิต (video interface unit) ที่แปลงสัญญาณวิดีโออะนาล็อก ซึ่งเกิดจากกล้องถ่ายภาพวิดีโอให้อยู่ใน CCIR601 ฟอร์แมต
- วิดีโอเอ็นโค้ดเดอร์ ที่ทำหน้าที่ประมวลผลสำหรับ MPEG2 เอ็นโค้ดดิงของวิดีโอสตรีมที่ส่งเข้ามา
- ออดิโอเอ็นโค้นเดอร์ (audio encoder)
- signalling unit ที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลสัญญาณที่เป็น anxilligry ที่จำเป็นสำหรับการสื่อสารแบบจุดต่อจุด ระหว่างวิดีโอเซอร์ฟเวอร์กับผู้ใช้บริการ รวมทั้งระหว่างเซอร์ฟเวอร์และรีลไทม์โค้ดเตอร์ (real time coder)
- มัลติเพล็กเซอร์ (multiplexer) ซึ่งทำหน้าที่ควบหรือมัลติเพล็กซิงสำหรับสัญญาณเสียง วิดีโอ และข้อมูล รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายการที่ดีโค้ดเดอร์ (decoder) ต้องการ เพื่อที่จะนำไปใช้ในการสร้างเสริมรายการต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่ โดยให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
- ไลน์ทรานสมิชชัน ซึ่งจะทำหน้าที่ในด้านแชนเนิลโค้ดดิงจากกระแสของสัญญาณที่เป็นแบบ MPEG2 binary stream ให้เป็นไลน์ฟอร์แมต ซึ่งอาจอาศัย ATM บน SDH (Synchronous Digital Hierarchy) และ/หรือ PDH(Plesiochronous Digital Hierarchy) รวมทั้ง 64-256 QAM (Quadrature Amplitude Mudulation) และ B703 ที่เป็น direct transport สำหรับ PDH
- เอ็นโค้ดเดอร์คอนโทรลเลอร์ (encoder controller) ที่สามารถควบคุมระบบทุกระบบรวมทั้งอินเทอร์เฟส ซึ่งต่อพ่วงโยงกับ gaft terminal และ mediation device ที่สัมพันธ์กับเน็ตเวอร์กแมนเนจเมนท์ฟังก์ชัน
วิดีโอเซอร์ฟเวอร์ (Video Server)
ซึ่งประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้
วิดีโอสตอเรจ (video storage)
โดยทั่วไปแล้วจะมีการแยกระหว่าง ส่วนที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลที่เป็น storage part กับส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมที่เป็น control part หน้าที่ของ storage part ก็คือการเก็บเนื้อหาของรายการ รวมทั้งการสร้างสรรค์นำเนาใหม่ ๆ ของรายการโดยอาศัยเนื้อหาสาระจากที่มีอยู่แล้ว (รูปที่ 8) สตอเรจเทคโนโลยีที่ใช้ในการนี้ก็มีอาทิเช่น
- Winchester Hard Disks
- RAID (Radundant Array of Inexpensive Disks) เทคโนโลยี
- Dram สตอเรจ
- เทปไดรฟ์ เช่น DAT (digital andio E tape)
นอกจากนี้ก็ยังมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงสำหรับในเรื่องของ MPEG เอ็นโค้ดดิงในแง่ที่ว่า
Server Control
ซึ่งทำหน้าที่เป็นปลายทางที่จะ terminate สัญญาณสำหรับผู้ใช้บริการและดูแลในด้านการควบคุมโดยทั่วไปในเรื่องของวิดีโอเซอร์ฟเวอร์
Data/signalling flows
หน้าที่ของวิดีโอเซอร์ฟเวอร์ก็คือการทำหน้าที่ที่ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงที่เป็นทิศทางเดียวสำหรับมหาชนในรูปของการเชื่อมโยงกับเน็ตเวอร์กของการสื่อสารที่เป็นแบบไฮแบนด์วิดธ์ ดังในรูปที่ 8 อันเป็นการเชื่อมโยงที่ประกอบด้วยวิดีโอสตรีมเดี่ยว (เช่น Z Mbit/s) กับสิ่งที่เป็นเสียงและข้อมูล รวมทั้งการฝากผังข้อมูลข่าวสารในเชิงบังคับสั่งการที่เป็นระยะไกลในรูปของ embedded control information ในกรณีที่สิ่งที่เป็นต้นกำเนิดอันเป็นการแปลงข่าวของวิดีโอ (video souruce) จะมีความต้องการการเชื่อมโยงแบบสองทางกับส่วนที่เรียกว่า เซอร์ฟเวอร์คอนโทรล (server control ) ฯลฯ
Customer Premises Equipment (CPE)
ได้มีการแบ่งสถาปัตยกรรมของ CPE เป็นสองแบบคือ
1. เป็นการแยก network termination ออกจาก set top (รูปที่ 9)
2. รวม network termination เข้ากับ set top
หน้าที่ของ set top ก็คือการดีโค้ด (decode) MPEG วิดีโอ ออดิโอสตรีม รวมทั้งการเป็นอินเทอร์เฟสสำหรับเครื่องรับโทรทัศน์รวมทั้งการทำหน้าที่อื่น ๆ เช่น
- การเป็นอินเทอร์เฟสสำหรับผู้ใช้
- conditional access (encryption)
- การควบคุม password
- สมาร์ทการ์ด
- อ่านบัตรเครดิต
- joysticks
นอกจากนี้ก็ยังมีการแบ่ง set top ออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. แบบ low end ที่พัฒนาไปจากในปัจจุบัน
2. แบบ high end ซึ่งอาศัยเวอร์กสเตชันหรือพีซี
VOD ขั้นทดลองของ Alcatel
ระบบที่เป็นขั้นทดลองในการให้บริการที่เป็น VOD ซึ่งจะนำมาพูดในที่นี้จะเป็นแบบ end to end ATM solution ที่พัฒนาโดยบริษัท Alcatel โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อการทดลองและเพื่อแสดงความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีบางอย่างเพื่อให้บริการแบบนี้ (รูปที่ 10)
ระบบตามที่แสดงในรูปที่ 10 นั้นได้สร้างจากอุปกรณ์ที่เป็นบรอดแบนด์สวิตช์แบบ A1000 ของบริษัท Alcatel โดยอาศัย ATM Passive Optical Network (APON) ให้ทำหน้าที่เป็นแอ็กเซสเน็ตเวอร์ก พร้อมด้วยวิดีโอเซอร์ฟเวอร์และ ATM Service Unit (ASU) หน้าที่ของระบบเช่นนี้ก็คือการให้บริการด้าน VOD แบบปฏิสัมพันธ์แก่ผู้ใช้บริการหลายร้อยราย โดยมีภาพยนตร์ที่เก็บสำรองไว้ให้ผู้ใช้บริการเลือกชมเป็นจำนวนมาก (นับเป็นร้อยเรื่อง" ซึ่งจะมีการเก็บภาพยนตร์ดังกล่าวในรูปของ library
การให้บริการในด้าน IVOD จะเป็นไปในรูปที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถบังคับควบคุมการชมภาพยนตร์ เช่น การเริ่มชมการหยุดเพราะจบเรื่อง การหยุดชั่วคราว การเร่งไปข้างหน้า เพื่อให้สามารถเห็นเหตุการณ์ในภาพยนตร์ได้เร็วขึ้น และการรีไวนด์ นอกจากนี้ระบบเช่นที่แสดงในรูปที่ 10 ยังมีเครื่องอำนวยความสะดวกอื่น ๆ สำหรับผู้ชม เช่น Graphical User Interface (GUI) ที่ทำงานโดยอาศัยหลักของ Tree structure โดยในแต่ละโหนด (node) จะสัมพันธ์โดยตรงกับหนึ่งภาพของ MPEG-coded still image
งานพัฒนาอีกส่วนหนึ่งของบริษัท Alcatel ก็คือการออกแบบ VOD เซอร์ฟเวอร์ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ผู้ชมสามารถเพลย์แบค MPEG สตรีมในรูปของรีลไทม์ ซึ่งจะประกอบด้วยแถบของฮาร์ดดิสค์ที่อินเทอร์เฟสกับ ATM เน็ตเวอร์กโดยผ่านทาง Media Control Board (MCB) MCB จะอ่านส่วนของวิดีโอที่มีผู้ต้องการจะดูโดยอ่านจากดิสค์แล้วส่งไปที่สวิตช์ด้วยอัตราความเร็วคงที่ (เช่น อาจเป็น 2 Mbit/s ข้อมูลที่เป็นวิดีโอจะเก็บไว้ในดิสค์โดยใช้ ATM ฟอร์แมต นอกจากนี้ก็มีการเพิ่มสิ่งที่เรียกว่า ATM Adaptation Layer เข้าไปในรูปขอออฟไลน์เพื่อให้การสนับสนุนภาพวิดีโอที่ได้รับการบีบอัดแล้วโดยอยู่ในรูปของ MPEG ซึ่งทั้งหมดนี้จะเก็บอยู่ใน A 1000 แรค โดยหนึ่งแรคจะมีดิสค์อยู่ 96 ตัว
อุปกรณ์ชิ้นสุดท้าย VOD trial system (รูปที่ 10) ก็คือ Video Server Control Station ซี่งทำหน้าที่รับสัญญาณจากผู้ใช้บริการแล้วแปลงเป็นคำสั่งที่เหมาะสมเพื่อส่งไปยังเซอร์ฟเวอร์สเตอเรจ ส่วนในแง่ของการบริหารจัดการนั้นก็จะมี Service Operation Center ที่คอยกำกับการทำงานของระบบวิดีโอและจัดการในเรื่องของทรัพยากรที่มีอยู่ในเซอร์ฟเวอร์รวมทั้งการจัดการในด้านการเข้าเป็นสมาชิกสำหรับ VOD
สรุป
จากประสบการณ์ในการทำธุรกิจเพื่อให้เช่าวิดีโอเท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้สำหรับในหลาย ๆ ประเทศได้แสดงว่าการให้บริการในด้าน VOD จะต้องการ
- รายการใหม่ ๆ
- การเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่เน็ตเวอร์กที่มีอยู่แล้วหรือเปลี่ยนใหม่หมด
- เพิ่มระบบใหม่ ๆ เข้าไป
เพื่อเป็นโอกาสทางการค้าสำหรับผู้ขายอุปกรณ์โอเปอเรเตอร์และผู้ให้บริการด้านนี้เพราะการให้บริการต่าง ๆ ที่เป็นแบบปฏิสัมพันธ์เท่าที่พูดมาทั้งหมดนี้จะก่อให้เกิดมีโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการให้บริการ B-ISDN โดยทั่วไป ซึ่งจะทำรายได้ให้แก่ผู้เป็นโอเปอเรเตอร์และสร้างความพอใจให้แก่ผู้ใช้บริการ ความสำคัญของธุรกิจในด้าน VOD ในต่อ ๆ ไปนั้นจะเป็นแรงกระตุ้นในเรื่องของการกำหนดมาตรฐานทางอุตสาหกรรมของเรื่องนี้เพื่อให้เกิดการรุดหน้าทางการค้า ในเวลาเดียวกัน ยังจะต้องมีการค้นคว้าวิจัยในด้าน VOD ต่อไปอีก โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เป็นส่วนสำคัญในเรื่องนี้ รวมทั้งการที่ผู้ขายอุปกรณ์ด้าน VOD ซึ่งจะต้องทำการทดลองในสนามให้มากขึ้น ตลอดจนการร่วมมือกับโอเปอเรเตอร์
แหล่งที่มา http://www.school.net.th/library/snet1/network/vod.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)