เทพกระจอก
วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
ไอโฟนถือว่าเป็นโทรศัพท์มือถือที่มีคอนเซ็ปต์การดีไซน์รูปแบบแปลก ๆ ออกมาให้เราได้ชมกันมากมายหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็เป็นแนวคิดการออกแบบของเหล่าดีไซน์เนอร์แต่ละคนที่อวดฝีมือกันด้วยจินตนาการที่ล้ำยุคจริง ๆ จนบางครั้งทำให้เราแยกไม่ออกว่ามันเป็นแค่คอนเซ็ปต์หรือเป็นโทรศัพท์มือถือที่มีตัวตนอยู่จริง ๆ มาถึงคอนเซ็ปต์ล่าสุดของไอโฟนที่มาพร้อมกับความล้ำยุคไปไกล ด้วยกล้อง 3 มิติพร้อมเลนส์ถ่ายภาพ DSLR กับคอนเซ็ปต์ที่มีชื่อว่า iPhone PRO
iPhone PRO เป็นผลงานการออกแบบของดีไซน์เนอร์ที่มีชื่อว่า Choi Jinyoung เป็นไอโฟนที่มีขนาดหน้าจอ 4.5 นิ้ว ความละเอียด 1280x800 พิกเซล มาพร้อมกล้องถ่ายภาพ 3 มิติ ความละเอียด 1.2 ล้านพิกเซล เสริมความคมชัดด้วยเลนส์กล้อง DSLR และฮาร์ดดิสก์เก็บข้อมูลที่สามารถถอดออกได้ นอกจากนี้ยังให้เราเพลิดเพลินกับการชมภาพยนตร์ด้วยโปรเจ็กเตอร์ฝังอยู่ในตัวเครื่องพร้อมกับเลนส์ขยายภาพเพื่อฉายโปรเจ็กเตอร์ไปยังฉาก สำหรับคอนเซ็ปต์นี้เรียกได้ว่าเป็นแนวคิดและไอเดียการออกแบบไอโฟนที่ล้ำยุคและฝีมือระดับมือโปรจริง ๆ ถ้าพร้อมแล้วมาติดตามชมภาพคอนเซ็ปต์ iPhone PRO ทั้งหมดกันเลย
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงคอนเซ็ปต์การออกแบบที่ถูกจินตนาการขึ้นมาเท่านั้น แต่ก็ไม่แน่ในอนาคตข้างหน้าเราอาจจะได้เห็นไอโฟนที่มีรูปลักษณ์แปลก ๆ และมาพร้อมกับอุปกรณ์เสริมครบชุดแบบนี้ก็ได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับทางแอปเปิลว่าจะสนใจคอนเซ็ปต์เหล่านี้มากแค่ไหน เพื่อนำไปปรับใช้กับไอโฟนรุ่นต่อ ๆ ไปในอนาคต
ที่มา kapook.com
(Head Care Robot)
พานาโซนิคเผยเทคโนโลยีสุดไฮเทค ที่จะพลิกโฉมให้กับร้านทำผมด้วยหุ่นยนต์สระผมอัตโนมัติ (Head Care Robot) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยสนับสนุนและประหยัดค่าใช้จ่ายที่ต้องจ้างช่างสระผม เพียงแค่มีหุ่นยนต์สระผมอัตโนมัติตัวนี้หนึ่งเครื่อง การสระผมก็เป็นเรื่องง่ายดาย
สำหรับหุ่นยนต์สระผมอัตโนมัติ (Head Care Robot) เป็นหนึ่งผลิตภัณฑ์ ที่โชว์ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของทางพานาโซนิค ซึ่งเจ้าหุ่นยนต์สระผมตัวนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้แค่เฉพาะในร้านเสริมสวยเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้ประโยชน์ให้กับผู้ป่วยในโรงพยาบาลในกรณีที่พนักงานไม่เพียงพอ กลไกการทำงานของหุ่นยนต์สระผมอัตโนมัติจะถูกควบคุมด้วยตัววัดเซ็นเซอร์ศีรษะของลูกค้า จากนั้นจะเริ่มขั้นตอนการสระผม โดยการฉีดน้ำ สามารถเลือกได้น้ำร้อนหรือน้ำเย็น เสร็จแล้วก็ฉีดแชมพูเป็นขั้นตอนต่อไป โดยจะมีชิ้นส่วนคล้ายนิ้วมือ จำนวน 24 นิ้วเป็นตัวช่วยเพื่อนวดแชมพูให้ทั่วศีรษะของเรา
ซึ่งในขณะนี้ทางพานาโซนิคได้เริ่มทดสอบหุ่นยนต์สระผมอัตโนมัตินี้แล้ว ที่ร้านทำผมชื่อว่า Super Hair Seo ในเมือง Nishiyama จังหวัดเฮียวโก ประเทศญี่ปุ่น โดยเริ่มทดสอบตั้งแต่วันที่ 11 เมษายนถึงวันที่ 10 มิถุนายน 2555 ทำให้มีผู้คนสนใจเข้าใช้บริการหุ่นยนต์สระผมอัตโนมัตินี่ที่ร้านเป็นจำนวนมาก อยากรู้ว่าหุ่นยนต์สระผมเครื่องนี้จะเจ๋งแค่ไหน มาดูคลิปวิดีโอทดสอบการใช้งานเพื่อโชว์ความสามารถอันน่าทึ่ง ติดตามได้จากคลิปด้านล้างเลยจ้า
ที่มา kapook.com
เทคโนโลยีล้ำสมัย! "แว่นตา" มี Auto Focus
บริษัท PixelOptics ได้คิดค้นแว่นตาไฮเทค ที่เพิ่มชั้นของคริสตัลเหลวไปบนตัวเลนส์ เพียงแค่เงยหน้าหรือสัมผัสที่แว่นมันก็จะปรับโฟกัสให้โดยอัตโนมัติในช่วงเวลาที่เร็วกว่าการกะพริบตาซะอีก
EmPower! ช่วยปรับโฟกัสได้ทุกระยะการมอง ไม่ว่าจะใกล้ไกลหรือระยะกลาง ๆ ลดการบิดเบียนภาวะตาพร่าที่ทำให้เห็นวัตถุผิดรูปไปได้ถึง 50% และเพิ่มมุมมองให้กว้างขึ้น 2 – 3 เท่าเมื่อเทียบกับโปรเกรสซีฟเลนส์ ภายใต้รูปลักษณ์ที่เหมือนแว่นตาทั่ว ๆ ไป ข้างในได้ซ่อนไมโครชิฟ , micro-accelerometer และแบตเตอรี่ชาร์จได้ขนาดเล็กซ่อนเอาไว้
เจ้า accelerometer จะทำหน้าที่จับการเคลื่อนไหวแล้วส่งสัญญาณไปยังชั้น LCD โปร่งใสบนเลนส์แต่ละข้าง ที่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลของตัวมันเองได้ เมื่อรวมกับการการคำนวณค่าการหักเหของแสงที่เปลี่ยนไปจึงทำให้มันปรับโฟกัสตามต้องการ ซึ่งคุณสามารถตั้งได้ว่าจะใช้โหมดอัตโนมัติหรือ Manual เพียงแค่กดปุ่มเปิด/ปิด
ในการชาร์จหนึ่งครั้งสามารถใช้งานได้ 2-3 วัน นอกจากนี้ EmPower! ยังมีคุณสมบัติกันน้ำ มีกรอบให้เลือกมากมายถึง 48 แบบ ตั้งแต่กรอบโลหะ กรอบพลาสติกจนไปถึงไร้ขอบ ในส่วนของเลนส์ผลิตขึ้นโดย Panasonic Healthcare Company แถมยังมีออปชันเปลี่ยนเลนส์ให้กลายเป็นแว่นกันแดดได้ด้วย
สนนราคาของ Empower! อยู่ที่ 1,000-1,200 $ ราคานี้รวมแท่นชาร์จแล้ว
ที่มาthaiza.com
วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555
Google เปิดตัว Map 8-bit
กูเกิลเซอร์จแอนจินรายใหญ่ได้สร้างเซอร์ไพรซ์ ด้วยการเปิดตัว Map 8-bit ลงเครื่อง แฟมิคอมซึ่งจะมีรายละเอียดและสิ่งที่น่าสนใจดังนี้
กำเนิดหมึกนำไฟฟ้า-ปฏิวัติสิ่งพิมพ์ไทย
จันท์เกษม รุณภัย
อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทยที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและศักยภาพของการแข่งขันของประเทศในทุกระดับ แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่กำลังประสบกับภาวะความนิยม "ขาลง" เนื่องด้วยด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีหลากหลายประเภทมากขึ้น อีกทั้งรวดเร็วและฉับไวกว่า จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องเร่งคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์อย่างเร่งด่วน
ด้วยเหตุนี้ สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. (NSTDA) ภายใต้การควบคุมของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้เปิดศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ หรือ โทปิค (TOPIC: Thailand Organic & Printed Electronics Innovation Center) เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตนวัตกรรมใหม่ในด้านดังกล่าว ทั้งยังมุ่งเน้นความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทยให้ก้าวสู่นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต และผู้นำนวัตกรรมสิ่งพิมพ์อัจฉริยะแห่งประชาคมอาเซียน
โดยภายในงานมี ดร.ทวีศักดิ์ ก่ออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช.เป็นประธาน และได้มีการเปิดตัวนวัตกรรมนำร่องใหม่ๆ ได้แก่ "หมึกพิมพ์นำไฟฟ้า" โดยสังเคราะห์ขึ้นจากสาร "กราฟีน" ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของโมเลกุลคาร์บอน มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าได้ สามารถตีพิมพ์ลงบนพื้นผิวได้หลายชนิด เช่น กระดาษ และแผ่นพลาสติก ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่
อาทิ "บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ" (Smart Package) ที่สามารถแสดงข้อมูลหรือภาพเคลื่อนไหวบนหีบห่อ และส่งข้อมูลความพอใจของลูกค้ากลับมายังผู้ผลิตได้ "หมึกพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์" (E-ink) ที่นำไปใช้ในแผ่นป้ายเก็บข้อมูล ที่ใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อพาหะ หรือ อาร์เอฟไอดี แทนเทคโนโลยีเดิมที่ต้องใช้โลหะทองแดง ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ และมีต้นทุนสูงกว่า "กระดาษอัจฉริยะ" (E-paper) ที่สามารถแสดงข้อมูลหรือภาพเคลื่อนไหวบนแผ่นพลาสติก สามารถโค้งงอได้ นอกจากนี้ ยังมีสารเปล่งแสงที่ใช้ในจอแสดงผลชนิด "โอแอลอีดี" ซึ่งใช้พลังงานและมีต้นทุนการผลิตต่ำ แต่ให้ภาพที่คมชัด สีสันสวยสดใสมากขึ้น
รวมทั้ง "ฟิล์มสุริยะ" คือ แผ่นฟิล์มบางที่ทำหน้าที่เหมือนแผงรับพลังงานสุริยะเปลี่ยนเป็นไฟฟ้า "แบตเตอรี่บาง" ที่มีความบางเพียงความหนาของกระดาษในปัจจุบัน ตลอดจนตัวตรวจวัดทางการแพทย์ที่มีราคาถูก จนสามารถใช้แล้วทิ้งได้ เช่น ตัวตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด และสารพิษตกค้างในอาหาร
ในโอกาสนี้ สวทช. ของไทยได้รับเกียรติให้เข้าเป็นสมาชิก "สมาคมอุตสาหกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์" หรือ โออี-เอ ภายใต้สมาพันธ์วิศวกรรมแห่งประเทศเยอรมันนี หรือ วีดีเอ็มเอ โดยประเทศไทยถือเป็นประเทศลำดับที่ 4 ในทวีปเอเชียที่เข้าเป็นสมาชิกของโออี-เอ หลังประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์
ศาสตราจารย์ ไรน์ฮาร์ด เบอร์แมน ตัวแทนคณะผู้บริหารสมาคมโออี-เอ กล่าวว่า โออี-เอ ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2547 โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งเป็นสถาบันวิจัยและบริษัทเอกชนกว่า 10 องค์กร โดยมีเป้าหมาย คือ การสร้างเครือข่ายการพัฒนาและผลักดันเทคโนโลยีดังกล่าว ในระดับนานาชาติ ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 188 องค์กร จากหลายประเทศทั่วโลก โดยประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกโออี-เอ คือการได้พบกับนักวิจัยจากองค์กรอื่น เครือข่ายธุรกิจและอุตสาหกรรมจากทั่วโลกที่จะร่วมกันผลักดันเทคโนโลยีรักษาสิ่งแวดล้อมนี้ออกมาสู่ผู้บริโภค
ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ หัวหน้าคณะนักวิจัยผู้คิดค้นหมึกพิมพ์นำไฟฟ้า ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค กล่าวว่า หมึกนำไฟฟ้าดังกล่าวเกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ทางไฟฟ้าเคมีแบบพิเศษชนิดใหม่ ซึ่งจะไม่มีออกซิเจนตกค้างอยู่ ส่งผลให้ศักยภาพการนำไฟฟ้าสูงกว่า แตกต่างจากหมึกนำไฟฟ้าที่ต่างประเทศคิดค้นขึ้นก่อนหน้า ทางสวทช.จึงได้จดสิทธิบัตรหมึกพิมพ์นำไฟฟ้าชนิดนี้แล้ว
ซึ่งขณะนี้ มีบริษัท "อินโนฟีน" ของคนไทย ได้ขอเช่าสิทธิในการผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว นับเป็นองค์กรภาคเอกชนแห่งที่ 2 ของโลก ขณะที่ผลงานในปีหน้า ทางคณะนักวิจัยคาดว่า จะสามารถคิดค้นแบตเตอรี่แบบบางที่ใช้พิมพ์ลงบนกระดาษ เซ็นเซอร์ตรวจวัดทางการแพทย์แบบใช้แล้วทิ้ง และกระจกเปลี่ยนสีได้ ร่วมกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ นาโนเทค
ภาคเอกชนผู้สนใจสามารถติดต่อศูนย์โทปิคได้โดยตรง โทรศัพท์ 02-564-8000
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)