เทพกระจอก

วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

Google เปิดตัว Map 8-bit

กูเกิลเซอร์จแอนจินรายใหญ่ได้สร้างเซอร์ไพรซ์  ด้วยการเปิดตัว  Map 8-bit ลงเครื่อง แฟมิคอมซึ่งจะมีรายละเอียดและสิ่งที่น่าสนใจดังนี้







กำเนิดหมึกนำไฟฟ้า-ปฏิวัติสิ่งพิมพ์ไทย

จันท์เกษม รุณภัย


 อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักของไทยที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและศักยภาพของการแข่งขันของประเทศในทุกระดับ แต่ปัจจุบันส่วนใหญ่กำลังประสบกับภาวะความนิยม "ขาลง" เนื่องด้วยด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีหลากหลายประเภทมากขึ้น อีกทั้งรวดเร็วและฉับไวกว่า จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องเร่งคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์อย่างเร่งด่วน

 ด้วยเหตุนี้ สำนักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. (NSTDA) ภายใต้การควบคุมของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้เปิดศูนย์นวัตกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์ หรือ โทปิค (TOPIC: Thailand Organic & Printed Electronics Innovation Center) เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตนวัตกรรมใหม่ในด้านดังกล่าว ทั้งยังมุ่งเน้นความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อพลิกโฉมอุตสาหกรรมการพิมพ์ของไทยให้ก้าวสู่นวัตกรรมแห่งโลกอนาคต และผู้นำนวัตกรรมสิ่งพิมพ์อัจฉริยะแห่งประชาคมอาเซียน

 โดยภายในงานมี ดร.ทวีศักดิ์ ก่ออนันตกูล ผู้อำนวยการสวทช.เป็นประธาน และได้มีการเปิดตัวนวัตกรรมนำร่องใหม่ๆ ได้แก่ "หมึกพิมพ์นำไฟฟ้า" โดยสังเคราะห์ขึ้นจากสาร "กราฟีน" ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของโมเลกุลคาร์บอน มีคุณสมบัตินำไฟฟ้าได้ สามารถตีพิมพ์ลงบนพื้นผิวได้หลายชนิด เช่น กระดาษ และแผ่นพลาสติก ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่

 อาทิ "บรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ" (Smart Package) ที่สามารถแสดงข้อมูลหรือภาพเคลื่อนไหวบนหีบห่อ และส่งข้อมูลความพอใจของลูกค้ากลับมายังผู้ผลิตได้ "หมึกพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์" (E-ink) ที่นำไปใช้ในแผ่นป้ายเก็บข้อมูล ที่ใช้คลื่นวิทยุเป็นสื่อพาหะ หรือ อาร์เอฟไอดี แทนเทคโนโลยีเดิมที่ต้องใช้โลหะทองแดง ซึ่งเป็นสารอนินทรีย์ และมีต้นทุนสูงกว่า "กระดาษอัจฉริยะ" (E-paper) ที่สามารถแสดงข้อมูลหรือภาพเคลื่อนไหวบนแผ่นพลาสติก สามารถโค้งงอได้ นอกจากนี้ ยังมีสารเปล่งแสงที่ใช้ในจอแสดงผลชนิด "โอแอลอีดี" ซึ่งใช้พลังงานและมีต้นทุนการผลิตต่ำ แต่ให้ภาพที่คมชัด สีสันสวยสดใสมากขึ้น

 รวมทั้ง "ฟิล์มสุริยะ" คือ แผ่นฟิล์มบางที่ทำหน้าที่เหมือนแผงรับพลังงานสุริยะเปลี่ยนเป็นไฟฟ้า "แบตเตอรี่บาง" ที่มีความบางเพียงความหนาของกระดาษในปัจจุบัน ตลอดจนตัวตรวจวัดทางการแพทย์ที่มีราคาถูก จนสามารถใช้แล้วทิ้งได้ เช่น ตัวตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด และสารพิษตกค้างในอาหาร

 ในโอกาสนี้ สวทช. ของไทยได้รับเกียรติให้เข้าเป็นสมาชิก "สมาคมอุตสาหกรรมการพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อินทรีย์" หรือ โออี-เอ ภายใต้สมาพันธ์วิศวกรรมแห่งประเทศเยอรมันนี หรือ วีดีเอ็มเอ โดยประเทศไทยถือเป็นประเทศลำดับที่ 4 ในทวีปเอเชียที่เข้าเป็นสมาชิกของโออี-เอ หลังประเทศเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และสิงคโปร์

 ศาสตราจารย์ ไรน์ฮาร์ด เบอร์แมน ตัวแทนคณะผู้บริหารสมาคมโออี-เอ กล่าวว่า โออี-เอ ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2547 โดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งเป็นสถาบันวิจัยและบริษัทเอกชนกว่า 10 องค์กร โดยมีเป้าหมาย คือ การสร้างเครือข่ายการพัฒนาและผลักดันเทคโนโลยีดังกล่าว ในระดับนานาชาติ ปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 188 องค์กร จากหลายประเทศทั่วโลก โดยประโยชน์ที่ได้รับจากการเป็นสมาชิกโออี-เอ คือการได้พบกับนักวิจัยจากองค์กรอื่น เครือข่ายธุรกิจและอุตสาหกรรมจากทั่วโลกที่จะร่วมกันผลักดันเทคโนโลยีรักษาสิ่งแวดล้อมนี้ออกมาสู่ผู้บริโภค

 ดร.อดิสร เตือนตรานนท์ หัวหน้าคณะนักวิจัยผู้คิดค้นหมึกพิมพ์นำไฟฟ้า ของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค กล่าวว่า หมึกนำไฟฟ้าดังกล่าวเกิดขึ้นจากกระบวนการสังเคราะห์ทางไฟฟ้าเคมีแบบพิเศษชนิดใหม่ ซึ่งจะไม่มีออกซิเจนตกค้างอยู่ ส่งผลให้ศักยภาพการนำไฟฟ้าสูงกว่า แตกต่างจากหมึกนำไฟฟ้าที่ต่างประเทศคิดค้นขึ้นก่อนหน้า ทางสวทช.จึงได้จดสิทธิบัตรหมึกพิมพ์นำไฟฟ้าชนิดนี้แล้ว

 ซึ่งขณะนี้ มีบริษัท "อินโนฟีน" ของคนไทย ได้ขอเช่าสิทธิในการผลิตเชิงพาณิชย์แล้ว นับเป็นองค์กรภาคเอกชนแห่งที่ 2 ของโลก ขณะที่ผลงานในปีหน้า ทางคณะนักวิจัยคาดว่า จะสามารถคิดค้นแบตเตอรี่แบบบางที่ใช้พิมพ์ลงบนกระดาษ เซ็นเซอร์ตรวจวัดทางการแพทย์แบบใช้แล้วทิ้ง และกระจกเปลี่ยนสีได้ ร่วมกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ นาโนเทค

 ภาคเอกชนผู้สนใจสามารถติดต่อศูนย์โทปิคได้โดยตรง โทรศัพท์ 02-564-8000


ขั้นตอนการติดตั้งและใช้งานโปรแกรม VLC Media Player

1. หลังจากดาวโหลดโปรแกรมมาแล้วให้ Run ไฟล์ vlc-1.1.4-win32.exe จะได้ภาพตามด้านล่างให้เราคลิ๊ก Next
    
2. ยอมรับเงื่อนไขการใช้งานของโปรแกรม ให้คลิ๊ก Next
    
3. เลือกชนิดของการติดตั้งเป็นแบบ Full จากนั้นให้คลิ๊กปุ่ม Next
    
4. ให้คลิ๊กปุ่ม Install
    
5. ภาพแสดงความคืบหน้าการติดตั้งให้เราคอยจนเสร็จ
    
6. การติดตั้งเรียบร้อย ให้คลิ๊กปุ่ม Finish
    
7. หน้าของโปรแกรมใช้งาน สังเกตุดูแถบเมนูควบคุมการเล่น และการปรับระดับเสียง
    

การใช้งานโปรแกรม VLC Media Player เพื่อเปิดการถ่ายทอดสด

1.  เปิดโปรแกรม VLC Media Player
     
2.  เลือกที่เมนูMedia >Open Network Stream...
     
3.  พิมพ์ที่อยู่เป็น udp://@239.10.10.10 พอร์ต 9000 แล้วคลิกปุ่ม Play ดังภาพ
     
หรือ เลือก Protocol UDP Address 239.10.10.10 Port 9000 แล้วคลิกปุ่ม Play ดังภาพ
     
4.  สามารถรับชมการถ่ายทอดสดโดยใช้ โปรแกรม VLC Media Player
     

มาเรียนรู้การทำ Streaing ด้วยโปรแกรม VCL กันเถอะ






VLC media player   คือโปรแกรมเล่นไฟล์สื่อเช่นเพลงและภาพเคลื่อนไหวได้หลายสกุล รวมทั้งไฟล์ที่เล่นบนมือถือ ซึ่งจุดเด่นของโปรแกรมนี้ที่แตกต่างจากโปรแกรมเล่นไฟล์ตัวอื่นๆ คือ สามารถเล่นmedia ไฟล์ที่ download มายังไม่สมบูรณ์ได้ ซึ่งโปรแกรมทั่วไปจะไม่สามารถทำได้
            วีแอลซี ย่อมาจาก วิดีโอแลน ไคลเอนต์ (VideoLan Client) ซึ่งรองรับระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย เช่น Microsoft Windows, Mac OS XBeOSBSD Solaris โปรแกรมนี้พัฒนาโดยโครงการ วิดีโอแลน (VideoLAN) โดยเป็นซอฟต์แวร์เสรีที่ใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL สำหรับเล่นไฟล์มีเดียต่างๆ โดยโครงการวิดีโอแลน
   Streaming Media
             ปัจจุบันนี้สื่อผสม(Multimedia) ได้มีการนำมาใช้ในงานนำเสนอในหลายรูปแบบ เนื่องจากจะสามารถทำให้ผู้รับชมสามารถเข้าใจได้ดีกว่าการใช้สื่ออักษร ภาพ หรือเสียง อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว โดยระบบเครือข่ายได้ถูกนำมาใช้ในการนำเสนอข้อมูลเช่นเดียวกัน เนื่องจากประสิทธิภาพการเข้าถึงผู้รับชมจำนวนมากในการนำเสนอเพียงครั้ง เดียว และการใช้สื่อผสม ประเภท Video เพื่อใช้ในการนำเสนอผ่าน web browser ในระบบ intranet และ internet ซึ่งเป็นระบบ network ที่มีการนำมาประยุกต์ใช้มากที่สุดอย่างหนึ่งในปัจจุบัน
สำหรับวิธีการส่งข้อมูล Audio และ Video ผ่าน web browser มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การใช้ Web Server ในการนำข้อมูลส่งไปยัง โปรแกรมที่ใช้นำเสนอสื่อนั้นๆ และอีกวิธีหนึ่งคือการใช้ Streaming Media Server ซึ่งจะใช้ Server โดยเฉพาะในการให้บริการข้อมูล Audio/Video ถ้าเป็นเมื่อก่อน การนำเสนอสื่อ Audio/Video บน Web จะใช้การ download-and-play ซึ่งการที่จะชมสื่อนั้นๆได้นั้น จะต้องทำการ download ข้อมูลทั้งหมดมาก่อนจึงจะสามารถเล่นได้ ซึ่งถึงแม้จะเป็นสื่อขนาดเล็กเพียง 30 วินาทีก็ตามอาจจะต้องใช้เวลา Download ถึง 20 นาทีก่อนที่จะสามารถนำมาใช้ฟัง/ชม ได้ 
 แต่ปัจจุบันการชมAudio/Video จาก Streaming Media Server จะแตกต่างออกไป โดยที่ Streaming Media file จะเริ่มเกือบจะในทันทีที่เล่น ระหว่างที่ข้อมูลกำลังถูกส่ง ผู้ชมสามารถรับฟัง/ชม สื่อนั้นๆได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ download ข้อมูลทั้งหมดก่อน ไม่ว่าสื่อนั้นๆจะมีขนาด 30 วินาที หรือ 30 นาทีก็ตาม โดยมี Buffer เป็นตัวช่วย
ในขณะที่การนำเสนอข้อมูล Audio/Video ผ่านระบบ internet กำลังเป็นที่นิยม วิธีการนำเสนอจึงได้ถูกนำมาพัฒนา โดยวิธีการส่งแบบแรกคือการใช้ Web Server ในการให้บริการ และ วิธีการที่สองคือการใช้ Streaming Media Server ในการให้บริการนั่นเอง ซึ่งในแต่ละวิธีก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป จึงต้องมีการพิจารณาเลือกใช้วิธีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุดกับการใช้ งานที่ต้องการ
Streaming With Web Server   การใช้งาน : การใช้งาน multimedia file บน web server เริ่มจากทำการแปลง Audio/Video ให้อยู่ในรูปแบบสื่อที่เหมาะสมสำหรับการส่งข้อมูลบน internet โดยพิจารณาจาก bandwidth เช่น 28.8,33.6,56.6 kilobits per second สำหรับ modem ทั่วไป
ทำการ upload แฟ้มมัลติมีเดียไปยัง web server และสร้างเว็ปเพจที่ระบุ URL ของแฟ้มมัลติมีเดียนั้นๆ เมื่อมีการเรียกใช้งานแฟ้มมัลติมีเดีย client-side player จะทำงานและเริ่ม download แฟ้มมัลติมีเดีย เมื่อแฟ้มทั้งหมด download เสร็จสิ้นแล้วจึงทำการ play ไฟล์นั้น
การส่งข้อมูล : Web Server ใช้การติดต่อผ่าน Hypertext Transport Protocol (HTTP) ในการติดต่อระหว่าง server และ client ซึ่ง HTTP จะควบคุม Transmission Control Protocol (TCP) ซึ่งจะจัดการเกี่ยวกับการส่งข้อมูลทั้งหมด
Streaming With Streaming Media Server  การใช้งาน: ขั้นตอนเบื้องต้นของการเตรียมแฟ้มมัลติมีเดีย จะเหมือนกับการเตรียมสำหรับใช้บน Web Server แต่จะแตกต่างตรงที่ว่าแฟ้มที่ได้จะ upload ไปยัง Streaming Media Server ซึ่ง Streaming Media Server และ Web Server อาจจะอยู่บน Server Machine ที่ให้บริการตัวเดียวกันก็ได้  เมื่อแฟ้มมัลติมีเดียถูกเรียกใช้งาน Web Browser จะส่งไฟล์ขนาดเล็กที่เรียกว่า Meta File ไปยัง Client Player ซึ่งใน meta file นี้จะระบุปลายทางไปยัง Streaming Media Server หลังจากนั้น Client Player จะติดต่อกับStreaming Media Server โดยตรงโดยไม่ผ่าน Web Browser อีก
    การส่งข้อมูล : ถึงแม้ว่า Streaming Media Server สามารถที่จะใช้ HTTP/TCP เหมือนกับ Web Server ได้ แต่ก็สามารถใช้ protocol อื่นๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้ เช่น User Datagram Protocol (UDP) ซึ่งมีจุดเด่นที่ความเร็ว ขนาดเล็ก และไม่มีการทำงานเกี่ยวการส่งข้อมูลซ้ำหรือคำนวณอัตราการส่งข้อมูล ซึ่งจะเหมาะกับการส่งข้อมูลแบบ realtime ซึ่งข้อมูลที่สูญหายบางส่วนหรือข้อมูลที่เกิด delay จะถูกละความสนใจไป
การทดลองการใช้งานโปรแกรม VLC Media Player ของกลุ่มจะแบ่งเป็น 2 ส่วน
                   1.       การใช้โปรแกรม VLC เล่น Local Streaming  ทดลองโดยใช้Computer notebook 2 เครื่อง เครื่องหนึ่งเปิดโปรแกรม VLC เล่นไฟล์มีเดียแล้วส่งVDO Stream นั้นให้กับ Computer notebook อีกตัวหนึ่ง
                    2.       การใช้โปรแกรม VLC เล่นไฟล์ Online Streaming
1.       การใช้โปรแกรม VLC ทำ Local Streaming       ขั้นตอนการตั้งค่าเครื่อง  Server           
 1.1 Double Click ที่ ไอคอนโปรแกรม
1.2 ไปที่ media เลือก Advanced Open file (รูปที่ 1)
รูปที่ 1         
1.3 คลิก add เพื่อเลือกที่อยู่ของ file ที่ต้องการ Stream
 1.4 คลิกเลือก Stream 
รูปที่ 2
1.5 โปรแกรมจะบอกที่อยู่ของไฟล์ที่จะ Stream ในช่อง Source 
1.6 คลิก Next
รูปที่ 3
  1.7 เลือกรูปแบบการส่งเป็น UDP
        รูปที่ 4
1.8 ใส่ IP Address ของเครื่องปลายทาง
1.9 คลิก stream
รูปที่ 5
      ขั้นตอนการตั้งค่าเครื่อง client
                1.10 ไปที่ media เลือก Advanced Open file
รูปที่6
                 1.        คลิกเลือก tab network
                 2.       เลือก Protocol UDP
                 3.       คลิก Play
2.1 ไปที่ media เลือก Open Network Stream
2.2 ใส่ URL ของ TV Online              
 2.3 คลิก Play


สวัสดีค่ะ ในบล็อกนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ในปัจจุบัน  และแนวโน้มของเทคโนโลยีต่าง ๆ กันนะคะ  ซึ่งในปัจจุบันนี้สิ่งที่กำลังได้รับความสนใจก็คือ   เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม  ซึ่งเป็นการการสื่อสารที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ขณะเดียวกันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมก็ได้ก้าวหน้าขึ้นไปอีกมากค่ะเรามาดูเทคโนโลยีรูปแบบต่าง ๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมกันในปัจจุบันนะคะ



การสื่อสารผ่านดาวเทียม (satellite-based communication)




          เนื่องจากท้องที่ทางภูมิศาสตร์เต็มไปด้วยภูเขา หุบเขา หรือเป็นเกาะอยู่ในทะเล การสื่อสารที่ดีวิธีหนึ่งคือการใช้ดาวเทียม ดาวเทียมได้รับการส่งให้โคจรรอบโลก โดยมีการเคลื่อนที่ไปพร้อมกับการหมุนของโลก ทำให้ดาวเทียมอยู่ในตำแหน่งคงที่เมื่อมองจากพื้นโลก ดาวเทียมจะมีเครื่องถ่ายทอดสัญญาณติดตั้งอยู่ การสื่อสารโดยผ่านดาวเทียมจะทำโดยการส่งสัญญาณสื่อสารจากสถานีภาคพื้นดินแห่งหนึ่งขึ้นไปยังดาวเทียม เมื่อดาวเทียมรับก็จะส่งกลับมายังสถานีภาคพื้นดินอีกแห่งหนึ่งหรือหลายแห่ง เราจึงใช้ดาวเทียมเพื่อแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ได้
          การรับจะครอบคลุมพื้นที่ที่ดาวเทียมลอยอยู่ ซึ่งจะมีบริเวณกว้างมากและทำได้โดยไม่มีอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ เช่น มีแนวเขาบังสัญญาณ ดาวเทียมจึงเป็นสถานีกลางที่ถ่ายทอดสัญญาณจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้





           ปัจจุบันประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคมสามดวงลอยอยู่เหนือประเทศทางด้านมหาสมุทรอินเดียและอ่าวไทย ดาวเทียมไทยคมนี้ใช้ประโยชน์ทางด้านการสื่อสารของประเทศได้มาก เพราะเป็นการให้บริการสื่อสารของประเทศในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจากวิทยุ สัญญาณข้อมูลข่าวสารต่างๆ



 การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง (fiber optic)



           เส้นใยนำแสงมีลักษณะเป็นท่อแก้วที่อ่อนตัวอยู่ในสายที่หุ้มด้วยพลาสติก ลักษณะของท่อแก้วหุ้มด้วยสารพิเศษที่ทำให้เกิดการหักเหของแสงอยู่ภายในท่อแก้ว ดังนั้นเราสามารถส่งแสงจากปลายด้านหนึ่งให้ไปปรากฏที่ปลายอีกด้านหนึ่งได้ แม้ว่าเส้นใยนำแสงนั้นจะคดงอไปอย่างไรก็ตามก็จะส่งแสงเข้าไปในท่อแก้วได้ เมื่อมีการนำเอาข้อมูลเข้าไปผสมกับแสง เพื่อให้แสงกระพริบตามการเปลี่ยนแปลงของข้อมูล ทำให้เรารับส่งสัญญาณข้อมูลไปกับแสงได้ การรับส่งข้อมูลเข้าไปในแสงทำได้มากและรวดเร็ว



            ปัจจุบันในประเทศไทยมีการวางเครือข่ายเส้นใยนำแสงไปตามถนนหนทางต่างๆ ทั้งใต้ดิน และที่แขวนไปตามเสาไฟฟ้า มีการวางเชื่อมโยงกันระหว่างจังหวัด เพื่อให้ระบบสื่อสารเป็นเสมือนเส้นทางด่วนที่รองรับการสื่อสารของประเทศ


โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Network : ISDN)



             ลักษณะเครือข่ายนี้เป็นการขยายการบริการจากระบบโทรศัพท์เดิมให้เป็นระบบดิจิทัลคือส่งสัญญาณข้อมูลตัวเลขแทนเสียง แทนภาพ แทนข้อมูล การสื่อสารโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลจึงเน้นการประยุกต์ใช้งานหลายอย่างบนเครือข่ายเดียวกัน โดยวางฐานขยายจากโทรศัพท์ เช่น ในสายโทรศัพท์เส้นเดียวที่เชื่อมต่อไปยังบ้านเรือนผู้ใช้ สามารถประยุกต์ให้เป็นระบบโทรศัพท์ที่เห็นภาพ ใช้ส่งโทรสาร ใช้เป็นระบบการประชุมทางวีดิทัศน์ ใช้ในการส่งข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ เพื่อเชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ การดำเนินการเหล่านี้สามารถทำได้พร้อมกันบนสายสื่อสารเดียวกันโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัลควรได้รับการพัฒนา โดยวางโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมโยงต่างๆ ไว้ให้พร้อม เพื่อรองรับความเร็วของการรับส่งข้อมูลได้สูงขึ้น

ระบบเครือข่ายสวิตชิง (switching technology)

          ด้วยเทคโนโลยีเอทีเอ็มสวิตชิงที่มีความเร็วสูงทำให้การสื่อสารผ่านเส้นใยนำแสงในการส่งผ่านข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาที เอทีเอ็มสวิตชิงจึงเป็นเทคโนโลยีของการสร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารที่จะรองรับการใช้งานแบบสื่อประสม ปัจจุบันหลายหน่วยงานได้เริ่มใช้เครือข่ายด้วยเทคโนโลยีเอทีเอ็มสวิตชิงภายในองค์กรของตนเอง และมีแนวโน้ม การขยายตัวเพื่อรองรับระบบนี้สำหรับเครือข่ายระยะไกลในอนาคตต่อไป


ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ (mobile phone system)



           หรือที่เรียกว่าระบบเซลลูลาร์โฟน (cellular phone system) ที่ใช้กับโทรศัพท์ ทำให้มีโทรศัพท์ติดรถยนต์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันการสื่อสารระบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันมาก ลักษณะการทำงานของระบบสื่อสารแบบนี้คือ มีการกำหนดพื้นที่เป็นเซล เหมือนรวงผึ้ง แต่ละเซลจะครอบคลุมพื้นที่บริเวณหนึ่ง มีระบบสื่อสารเชื่อมโยงระหว่างเซลเข้าด้วยกัน ครอบคลุมพื้นที่บริการไว้ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อเราอยู่ที่บริเวณ พื้นที่บริการใด และมีการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ สัญญาณจากโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเชื่อมโยงกับสถานีรับส่งประจำเซลขึ้น ทำให้ติดต่อไปยังข่ายสื่อสารที่ใดก็ได้ ครั้นเมื่อเราเคลื่อนที่ออกนอกพื้นที่ก็จะโอนการรับส่งไปยังเซลที่อยู่ข้างเคียงโดยที่สัญญาณสื่อสารไม่ขาดหาย




 ระบบสื่อสารไร้สาย (wireless communication)



           เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่าย ระบบที่รู้จักและใช้งานกันแพร่หลายคือ ระบบแลนไร้สาย (wireless LAN) เป็นระบบเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายด้วยสัญญาณวิทยุ สามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบด้วยความสูงถึง 11 เมกะบิตต่อวินาที



        ระบบเครือข่ายไร้สายที่รู้จักและนำมาประยุกต์ใช้กันมากอีกระบบหนึ่งคือ ระบบบลูทูธ (bluetooth) เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายในระยะใกล้ เพื่อลดการใช้สายสัญญาณ และสร้างความสะดวกในการใช้งาน

สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office)






ความหมายของสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์หรืออีออฟฟิศ
              สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) คือ การใช้เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อปฎิบัติงานทั่วไป งานประจำวัน อย่างเช่น การจัดการเอกสาร จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การเก็บรักษาและแก้ไขกลุ่มข้อความ กลุ่มรูปภาพ งานทางบัญชี และ อื่น ๆ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ ยังรวมถึงระบบ เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมที่สามารถใช้ประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย



                                         รูปแสดงการใช้ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเข้ามาบริหารสำนักงาน
            
              ระบบสำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) รวมถึง ระบบข้อมูลสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบที่มีจุดประสงค์หลัก คือ การอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ระบบเช่นนี้เป็น การนำเครื่องมือ เครื่องใช้ หลาย ๆ อย่าง รวมเข้าด้วยกัน, ใช้งานร่วมกัน, เก็บรักษา, นำไปใช้ และกระจายข้อมูล ระหว่างผู้ร่วมงาน แต่ละคน , ทีมงาน และธุรกิจ นั้น ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ตัวอย่างของเครื่องมือ สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เวิร์ดโปรเซสซิ่ง, เครื่องพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ, อีเมลล์, วอยซ์เมลล์, เครื่องแฟกซ์, มัลติมีเดีย,
คอมพิวเตอร์ คอนเฟอร์เรนซิ่ง และ วิดิโอคอนเฟอร์เรนซิ่ง

               หลายปีที่ผ่านมา สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) ถูกมองว่า มีเพียงหน้าที่แก้ปัญหาในการทำงาน แต่ในปัจจุบัน ระบบที่ช่วยเสริมการติดต่อ สื่อสารในสถานที่ทำงาน ถูกมองว่ามีความสำคัญ และต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ในระดับเดียวกับระบบ TPS, MIS และ ISS

              สำนักงานอิเล็กทรอนิกส์ (E-Office) ในปัจจุบัน ดูเหมือนกับไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้จริง ๆ แตกต่างจากสำนักงานที่ใช้เพียงเครื่องจักรกล เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเครื่องพิมพ์ดีด, เครื่องยนต์ กลไกล และ ระบบไปรษณีย์  เป็นความหมายหลักของการติดต่อสื่อสาร ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีเรื่องน่าทึ่งที่ยังรอคอยเราอยู่ เรากำลังจะได้เริ่มเห็นบทบาทของ บริษัทเสมือนจริง ซึ่งสามารถทำให้ เราทำงานได้ในทุกแห่ง ปราศจากข้อจำกัดด้านพื้นที่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อทำงานในสำนักงาน อาจเรียกว่า “สำนักงานอัตโนมัติ หรือโอเอ    (OA = Office Automation)”  อาทิ

1.ประมวลผลคำ
2.บัญชี
3.ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

การประชุมทางไกล (Teleconference)



             การประชุมทางไกล (Teleconference) คือ การนำเทคโนโลยีสาขาต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายโทรทัศน์ และระบบสื่อสารโทรคมนาคมผสมผสาน เพื่อสนับสนุนในการประชุมให้มีประสิทธิภาพล ให้บริการ Teleconference หรือบริการโทรศัพท์ทางไกลผ่าน ICQ,MSN,Net2phone เป็นต้น





            การประชุมทางไกลแบ่งออกเป็น  3  ประเภท  ได้แก่
            1.  การประชุมทางไกลด้วยเสียงและภาพ  (Video Teleconference)  เป็นการประชุมที่ได้ทั้งภาพและเสียงของผู้เข้าร่วมประชุมโดยผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนจะต้องต้องเข้าไปอยู่ในสตูดิโอที่จัดไว้พิเศษ ณ ที่ต่างกัน  แล้วเชื่อมต่อด้วยวงจรโทรศัพท์หรือวงจรพิเศษ
            2.  การประชุมทางไกลด้วยเสียง  (Adio Teleconference) เป็นการประชุมที่มีการใช้โทรศัพท์เป็นอุปกรณ์สำคัญในการสื่อสาร  ผู้เข้าประชุมจะได้ยินเฉพาะเสียงของผู้เข้าร่วมประชุมด้วยกันเท่านั้น  จะไม่เห็นภาพคนที่เข้าร่วมประชุมด้วยกัน
            3.  การประชุมทางไกลด้วยคอมพิวเตอร์  (Computer Teleconference)  เป็นการประชุมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการสื่อสาร  และป้อนข้อมูลการประชุมระหว่างกันแทนการใช้โทรศัพท์หรือประชุมกันตามปกติ  ผู้เข้าประชุมจะนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์  และป้อนข้อมูลและคำสั่งต่าง ๆ ส่งถึงผู้เข้าประชุมคนอื่น ๆ  ที่อยู่ห่างไกลออกไประบบการสื่อสารจะใช้โทรศัพท์  ไมโครเวฟ  หรือดาวเทียมก็ได้

ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library)



         การค้นหาแหล่งความรู้ต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และตรงกับความต้องการมากที่สุด ห้องสมุดเป็นหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่รวบรวม จัดเก็บ และให้บริการสารสนเทศ เพื่อการศึกษาค้นคว้าแก่อาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และบุคลากรของสถาบัน ดังนั้นเมื่อมีการพัฒนาของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง และนำเอามาประยุกต์ใช้กับงานห้องสมุด ทำให้มีรูปแบบของห้องสมุดใหม่ ๆ เกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library)  นั่นเอง

        ห้องสมุดเสมือน หรือ Virtual Library หมายถึง  ห้องสมุดที่เกิดจากการรวมตัวของเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องที่ติดต่อกันบนระบบเครือข่ายและใช้โปรแกรมที่มีประสิทธิภาพในการจัดการ โดยเน้นให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เพียงนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับแหล่งสารสนเทศต่างๆ ไม่ว่าสารสนเทศนั้นจะอยู่ที่ใด โดยห้องสมุดจะทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ และทำหน้าที่กระจายสารสนเทศโดยเน้นการเข้าถึงมากกว่าการเป็นเจ้าของ หนังสือที่อยู่ในห้องสมุดเสมือนจะอยู่ในรูปของอิมเมจ (Image) ซึ่งอาจเกิดจากการสแกนหน้าหนังสือ วารสาร เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์

        ห้องสมุดเสมือนจึงเป็นที่รวมแหล่งสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการจัดการอย่างมีระบบและให้บริการค้นคืนสารสนเทศแบบออนไลน์ในระบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงระยะไกลมายังห้องสมุดเพื่อสืบค้นและใช้สารสนเทศของห้องสมุดหรือเชื่อมโยงกับแหล่งสารสนเทศอื่นได้ทุกที่ในระบบเครือข่าย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล      



        แนวคิดของห้องสมุดเสมือน พัฒนามาจากแนวคิดเดิมที่เรียกว่า ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งลักษณะของห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ ตามแนวคิดของ Dowlin ในสมัยนั้น (1984 : 33) มีองค์ประกอบ 4 ประการคือ

        1. การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยคอมพิวเตอร์

        2. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์

        3.  บรรณารักษ์หรือบุคลากรของห้องสมุดสามารถแทรกการติดต่อระหว่างผู้ใช้กับห้องสมุดได้ เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้ได้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์

        4.  ความสามารถในการจัดเก็บ รวบรวมและนำส่งสารสนเทศสู่ผู้ใช้โดยทางอิเล็กทรอนิกส์

ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom )



           ห้องเรียนเสมือนเป็นการเรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ
       ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิด การเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน


สร้างโดย: ครูสุมิตรา
แหล่งอ้างอิง: หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วงชั้นที่ 4 กระทรวงศึกษาธิการ

Blackberry Service






เทคโนโลยีใหม่ๆที่จะนำเสนอรายละเอียดในวันนี้เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ คงจะพอคุ้นๆกับคำว่า Blackberry กันมาบ้างแล้ว ในส่วนรายละเอียดที่น่าสนใจอยากนำเสนอให้ทุกท่านเพื่อเป็นความรู้เล็กๆน้อยๆ เป็นเรื่องในส่วนของ Blackberry Service เมื่อเอ๋ยหัวข้อแล้ว หลายท่านคงอยากจะรู้แล้วสิว่า ตัว Blackberry Service มันคืออะไรกัน และสำคัญอย่างไรต่อ Blackberry ที่สามารถบริการและอำนวยความสะดวกอะไรกับเราบ้าง มีจุดดี จุดเด่นอย่างไร ใครที่มี Blackberry อยู่ในมือตอนนี้ติดตามรายละเอียดที่จะนำเสนอต่อจากนี้ไปได้เลย

คราวนี้เราจะมาคุยกันในเรื่องของ Blackberry Service กัน มันคืออะไร สำคัญอย่างไร เพื่ออะไร แล้วไอ้ bbm นั้นมันดียังไง มันโบราณไปแล้วสำหรับโลกปัจจุบัน สู้ 3G ไม่ได้มี vedio call ด้วยครับ เราจะมาทำความรู้จักกันทีละเรื่องทีละประเด็นๆกันไปเลย

Blackberry service หลายคนบอกไม่เห็นต้องมาเขียนเลย ไม่เห็นมีอะไรน่าสนใจนี่ ใช้อยู่ ก็เปิดแล้วเอาไว้เล่น BBM , Facebook ไงละ   ถ้าคุณมีคำตอบแบบนี้ นั่นคือคุณยังไม่รู้จักกับสิ่งที่ Blackberry มีไว้ให้ใช้ไงครับ   เพราะนั่นคือเอาปัจจัยเสริมมาสร้างกระแสเพื่อตอบสนองการใช้ของคนรุ่นใหม่

Blackberry Service คือการให้บริการต่างๆ ของ RIM โดยผ่านทาง Server ของ RIM  ในสมัยก่อนนั้น   หลายคนถามว่าทำไมต้องมาย้อนว่าเมื่อก่อนนี้ ตอนนั้น เหตุผลก็คือถ้าเราไม่ทราบประวัติความเป็นมาเราก็จะไม่ทราบว่าวัตถุประสงค์ ความมุ่งหมายคืออะไรไงครับ

สมัยเริ่มแรกมี Server เดียวที่แคนนาดา RIM เป็นบริษัทของชาวแคนนาดา ผลิต Blackberry ขายใน อเมริกา iphone เป็นของอเมริกาแท้ๆ คราวนี้ Server เดียวที่ Canada ไม่สามารถให้บริการการเติบโตการใช้งานได้เมื่อฐานการใช้งานของลูกค้าข้ามไปสู่ฝั่งยุโรป คราวนี้เรามาดูฝั่ง อเมริกา ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ในช่วงปลายศตวรรตที่ 20 ต่อ ต้นศตวรรตที่ 21  องค์กร บริษัท หน่วยงานของรัฐหลายแห่งใช้ Blackberry ในการทำงานในหน่วยงานองค์กร   ดังนั้น RIM Server ที่แคนนาดา  จึงไม่พอที่จะรองรับการใช้งาน  จึงได้มีการตั้ง Server ขึ้นในอเมริกา โดย Cigular และ AT&T ต่อมา T-Mobile  และ verizon จึงตามมา กอปรกับหน่วยงานของรัฐบาลกลางสหรัฐ  มีความจำเป็นในการใช้เครื่อง Blackberry ในการประสานงาน ทำงาน จึงได้มีการตั้ง Server Blackberry ขึ้นในหน่วยงาน เพื่อตอบสนองการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  หน่วยงานดังกล่าว เช่น CIA ,  FBI , รวมทั้งหน่วยงานอิสระองค์กรเอกชน หนังสือพิมพ์ และธนาคาร  ต่างมี server เป็นของตนเอง   สิ่งนี้คือที่มาของ BES ซึ่งเป็นระบบ Blackberry ที่ใช้ในองค์กร

     หลายคนคงได้ดูภาพยนต์เรื่อง Bourne supremacy/utimatum จะเห็นการสั่งงานผ่านระบบโทรศัพท์ ครับนั่นคือ BES ที่ได้ทั้งภาพและเสียงและในความเป็นจริงเราใช้ Blackberry ในการทำงานครับไม่ได้ใช้ Moto

      คราวนี้เมื่อ Blackberry ได้กระจายสู่ระดับประชาชน  บริษัทขนาดย่อย  จึงได้มีการจัดตั้ง Server โดยผู้ให้บริการระบบขึ้นมาเพื่อรองรับการทำงานในจุดนี้  นั่นคือที่มาของ BIS z,จะไม่มีเขียนนะครับว่า BES กับ  BIS ต่างกันอย่างไร ระบบการทำงานเป็นอย่างไร   เพราะมันหาอ่านได้ดาษดื่นทั่วแผ่นดิน  เวปไหนก็มีเอาก๊อปไปลงกันเพื่อแสดงว่าฉันก็มีเรื่องทางวิชาการนะ…ประมาณนี้

      เมื่อทราบถึงประเด็นนี้แล้วก็มาถึงในส่วนของบริการแบลคเบอร์รี่  Blackberry Service

จากที่กล่าวมาแล้วหลายหัวข้อ  คงทราบกันแล้วว่า Blackberryเป็นอุปกรณ์การสื่อสารที่เน้นการรับส่ง email เป็นหลัก เมื่อนำมาเข้าสูระบบการทำงานขององค์กรก็ได้เน้น Pushmail  ในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างบุคคลกรในองค์กร  หรือระหว่างองค์กรกับเจ้าหน้าที่ในองค์กร ครับ มาถึงเรื่อง Pushmail อีกจนได้   ประเด็นนี้ก็หาอ่านได้ดาษดื่นทั่วแผ่นดินเช่นกัน  ใครเขียนเวปที่เกี่ยวกับ BB ก็ต้องยกเอาเป็นเรื่องว่า กูรุ้นะ….คำว่า กู นั้นเป็นคำหยาบคายหรือไม่  ถ้าใครบอกว่าหยาบนั่นดัดจริต  มีใครมั่งไม่เคยพูด

       เอาต่อครับ เมื่อมี Pushmail ก็ต้องมี server ในการเป็นตัวกลางกระจากข้อมูลต่างๆ สู่ผู้ใช้บริการ เมื่อ Blackberry เข้ามาสู่การบริการแบบ BIS ซึ่งมุ่งเน้นในผู้ใช้ระดับธรรมดา  องค์กรขนาดเล็ก บริษัทขนาดเล็ก และระดับผู้ใช้ทั่วไป ในการระบส่งเมลส่วนตัวไม่ว่าเรื่องงานหรือเพื่องส่วนตัว เราจะไม่มาพูดกันเรื่อง exchange , lotus note บ้าบอนะครับ เอาเรื่องใกล้ตัวนี่แหละ เมื่อปรับเข้าสู่ผู้ใช้บริการทั่วไป ผู้ให้บริการระบบก็ติดตั้ง Server เพื่อใช้งานกับ Blackberry ขึ้นมาเพื่อรองรับการให้บริการ ขยายฐานลูกค้า ก็คือหาเงินไปตามเรื่องของเขา ก็จึงเกิดเป็นที่มาของคำว่า Blackberry Service โดยแรกเริ่มเดิมที่นั่นเน้นแต่การรับส่ง เมล ในลักษณะของ Pushmail เท่านั้น คราวนี้ผลที่ตามมาจาก Server คืออะไร ณ  ตรงนี้คงจำกันได้ถึงความสำคัญของ PIN ที่เคยเขียนไปแล้ว ระบบการบริการของ Blackberry จึงได่เพิ่มคุณลักษณะในการโต้ตอบข้อความกันในระหว่างเครื่อง Blackberry ด้วยกัน  โดยผ่าน Server Blackberry ของผู้ให้บริการ   โดยวัตถุประสงค์

เพื่อการติดต่อสื่อสารแบบรวดเร็ว  ในการสั่งงานการรับงานการรายงานผลการปฏิบัติงาน ณ ตรงนั้น  หรือ ณ ที่ใดในโลกเพื่อส่งข้อมูลเข้าสู่ Server  โดยสามารถส่งได้ทั้งภาพและเสียง
นี่คือที่มาของ Blackberry Messenger ที่คุ้นเคยกันหรือยังครับ
เมื่อมาสู่มือของผู้ใช้บริการทั่วไป ก็เป็นการนำมาเพื่อรับส่งข้อความแบบรวดเร็วทันใจ ในกลุ่มผู้ใช้ BB ด้วยกัน   ถามว่า ฟรีไหม  ไม่ฟรีครับเพราะค่าบริการมันอยู่ในค่าใช้รายเดือนที่จ่ายไปอยู่แล้ว
       ผลประการต่อมาที่ได้รับจาก Blackberry Server คือการใช้งานของ Social Network และ application ต่างๆ ที่ผูกอยู่กับ  Service  ทั้งนี้เพื่ออะไร  ก็เพราะเพื่อบังคับให้ผู้ใช้งาน Blackberry ต้องเปิด ใช้บริการ Blackberry Service ไงครับ  ให้ดูจากหลาย application จำเป็นต้องเปิดใช้บริการจึงจะสามารถใช้งานได้ เช่น Facebook หรืออีกหลาย Application ในเครื่อง blackberry

      ความจำเป็นของ Blackberry service ขึ้นอยู่กับการใช้งานของแต่ละบุคคล  ที่ผมเน้นมากลายตอบ
กระทู้แล้วว่า ถ้าอยากใช้งาน Blackberry ให้เต็มความสามารถ มันต้องใช้




DDR3 วิวัฒนาการใหม่ของเทคโนโลยีหน่วยความจำ



เทคโนโลยีที่จะแนะนำต่อไปนี้เกี่ยวกับไอที DDR3 เป็นวิวัฒนาการยุคถัดไปของเทคโนโลยีหน่วยความ DDR2 และ DDR รุ่นเก่า ซึ่งจะขจัดอุปสรรคเรื่องความเร็วของหน่วยความจำ เพื่อข้ามสู่ความเร็วระดับกิกาเฮิร์ซ

เชื่อว่าคนที่มีคอมพิวเตอร์ใช้งานจะต้องรู้จักกับหน่วยความจำ (RAM) ที่เป็นส่วนสำคัญ ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ และหน่วยความจำนั้นก็มีอยู่หลายแบบขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีในการพัฒนา DDR3 ก็เป็นอีกหนึ่งของหน่วยความจำที่ได้พัฒนาขึ้นมาตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งาน แน่นอนว่านายอินเตอร์ ดอทคอม ก็สงสัยเช่นกันว่าเจ้าเทคโนโลยีตัวนี้มันดียังไง เราไปติดตามพร้อมกันเลย

DDR3 คืออะไร?

    DDR3 วิวัฒนาการใหม่ของเทคโนโลยีหน่วยความจำคู่ที่ผสมผสานเทคโนโลยีของ DDR และ DDR2 เข้าเอาไว้ด้วยกัน ทำให้มีประสิทธิภาพและความเร็วที่เพิ่มขึ้น ไม่สะสมความร้อนและใช้พลังงานต่ำ

สามารถใช้งาน DDR3 ร่วมกับ DDR2 ได้หรือไม่?

    ไม่สามารถทำได้ หน่วยความจำ DDR3 มี chip และ modules ที่แตกต่างกับ DDR2 เช่น DDR3 ใช้กระแสไฟฟ้า 1.5โวลต์ ซึ่งน้อยกว่า DDR2 ที่ใช้กระแสไฟฟ้า 1.8โวลต์

สามารถติดตั้งใช้งาน DDR3 ลงในช่องเสียบ DDR2 ได้หรือไม่?

    ไม่สามารถทำได้ DDR2 และ DDR3 จะมี module ที่แตกต่างกัน (Unbuffered, Registered, Small outline DIMMs) ซึ่งไม่สามารถติดตั้ง DDR3 ลงในช่องเสียบ DDR2 ได้

จะรู้ได้อย่างไรว่าช่องเสียบแบบไหนสำหรับ DDR2 หรือ DDR3?


    เป็นการยากที่จะแยกความแตกต่างระหว่าง motherboard ของ DDR2 และ DDR3 การติดตั้ง DDR3 ลงในช่องเสียบ DDR2 อาจทำความเสียหายให้กับ module หรือ motherboard เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น เบื้องต้นให้ความสอบว่าช่องเสียบบน motherboard ตรงกันกับ module หรือไม่แล้วจึงทำการเสียบลงในช่องเสียบ

รูปภาพด้านล่างแสดงความแตกต่างระหว่าง DDR3 และช่องเสียบ DDR2



DDR3 เป็นเทคโนโลยีมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ JEDEC กำหนดขึ้น JEDEC เป็นองค์กรกำหนดมาตรฐานเซมิคอนดักเตอร์ของ Electronic Industries Alliance (EIA) โดยมีสมาชิกประมาณ 300 บริษัท ส่งผู้แทนเข้าร่วมในการกำหนดมาตรฐานอย่างจริงจัง เพื่อให้ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม Kingston เป็นสมาชิกของ JEDEC มาเป็นเวลานาน นอกจากนั้นยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของ JEDEC และเป็นกรรมการในคณะกรรมการเทคโนโลยีหน่วยความจำอีกหลายคณะ

หน่วยความจำ DDR3 มีความเร็วสูงขึ้น มีแบนด์วิทสำหรับข้อมูลมากขึ้น ใช้แรงดันไฟฟ้าและกินไฟน้อยลง นอกจากนั้นยังปรับปรุงประสิทธิภาพเรื่องความร้อนให้ดีขึ้นด้วย หน่วยความจำ DDR3 ได้รับการออกแบบทางวิศวกรรม ให้สามารถรองรับโปรเซสเซอร์สี่แกนในยุคถัดไป ซึ่งต้องใช้แบนด์วิทสำหรับข้อมูลสูง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานให้ดีขึ้น

DDR3 เปิดตัวสำหรับระบบเดสก์ท็อปที่ใช้ชิปเซ็ตพิเศษของ Intel ในเดือนมิถุนายน 2007 โดยจะมีแพลตฟอร์มสำหรับโน๊ตบุ๊คและเซิร์ฟเวอร์ตามมมาในปี 2008 และ 2009

วิศวกรของ Kingston ทำงานร่วมกับวิศวกรของ Intel อย่างใกล้ชิด เพื่อให้หน่วยความจำ DDR3 สามารถใช้งานกับเดสก์ท็อป โน๊ตบุ๊ค เครื่องลูกข่าย และเซิร์ฟเวอร์ ได้ดีที่สุด แพลตฟอร์ม และผู้ผลิตระบบอื่นๆ ก็จะรองรับ DDR3 เทคโนโลยีหน่วยความจำนี้ได้เปิดตัวในตลาดเมื่อปี 2008





DDR3 จะมีสำหรับเดสก์ท็อป เซิร์ฟเวอร์ โน๊ตบุ๊ค ระบบสื่อสาร/เครือข่าย และแพลตฟอร์มอื่นๆ ในรูปแบบดังนี้:

DIMMS, ECC หรือ NON-ECC ไม่มีที่พักข้อมูล

ECC DIMM ลงทะเบียน
MICRODIMMS
SO-DIMMS
หน่วยความจำที่ออกแบบตามที่กำหนด
หน่วยความจำ DDR3 มีที่ระดับความเร็ว 1066MHz, 1333MHz และ 1600MHz ( อัตราข้อมูล) โดยจะเปิดตัว DDR3 ที่ความเร็ว 1066MHz และ 1333MHz ในปี 2007 ที่ผ่านมา ส่วน DDR3 ที่ระดับความเร็ว 1600MHz คาดว่าจะเปิดตัวได้ในปี 2008 นี้

ส่วนประกอบของหน่วยความจำ DDR3 แสดงไว้ด้านล่าง ( Non-ECC DIMM ไม่มีที่พักข้อมูลสำหรับเดสก์ท็อปที่แสดง):



หน่วยความจำ DDR3 ไม่สามารถใช้ร่วมกับหน่วยความจำ DDR2 หรือ DDR รุ่นเก่าได้ เนื่องจากการกำหนดจำนวนขา แรงดันไฟฟ้า และเทคโนโลยีชิปหน่วยความจำ DRAM ที่ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ หน่วยความจำ DDR3 มี “คีย์” แตกต่างจากหน่วยความจำ DDR ที่ขั้วต่อขอบ เพื่อป้องกันการเสียบลงช่องหน่วยความจำอื่น

DDR3 รองรับการใช้งานมาตรฐานใดบ้าง?

JEDEC DDR3 รองรับการใช้งานมาตรฐานของระบบ DDR3 CAS Latencies 7, 9 และ 10

1066 MHz DDR3 : CAS 7 (7-7-7)
1333 MHz DDR3 : CAS 9 (9-9-9)
1600 MHz DDR3 : CAS 10 (10-10-10)

ไอพีวี 6 จุดเปลี่ยนโลกออนไลน์





  บางคนที่อยู่บนโลกออนไลน์อาจจะยังไม่ทราบว่า ไอพีวี6 เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับอะไร สำหรับการระบุที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้นเราจะใช้ ไอพีเอ็ดเดรส (IP Address) ในการบ่งบอกเครื่องแต่ละเครื่องที่จะต่อเข้าสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และโลกออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต และแน่นอน ไอพีวี4 (IPV4) คือรูปแบบที่เราใช้งานกันอยู่ในปัจจุบันซึ่งกำลังไม่พอกับการขยายตัวบนโลกไอทีแล้ว
เรามาดูข้อมูลกันในเชิงเทคนิคของ Internet Protocol Version 6 กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล (Internet เป็นส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลได้แก่ ไอพีแอดเดรส (IP address) ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆ  ปัจุบันเราใช้ไอพีแอดเดรส (IP address) บนมาตราฐานของอินเตอร์เน็ตโพรโตคอลคือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปีค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโต อย่างรวดเร็ว นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนไอพีแอดเดรส (IP address) ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคต และหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครื่อข่ายเข้ากับ ระบบอินเทอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้นคณะทำงาน IETF (The Internet Engineering Task Force) ซึ่งตระหนักถึงปัญหาสำคัญดังกล่าว จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก (Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ IPv6 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับไอพีแอดเดรส (IP address) จำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลแพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี
Internet Protocol version 6 (IPv6) บางครั้งเรียกว่า Next Generation Internet Protocol หรือ IPng ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ดีในเครื่อข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง (เช่น Gigabit Ethernet, OC-12,ATM) และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถทำงานในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพต่ำได้ (เช่น Wireless network)  นอกจากนี้ยังได้มีการจัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับฟังก์ชันใหม่ๆ ของอินเตอร์เน็ตซึ่งเป็นที่ต้องการใช้ในอนาคต ความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ IPv4 มีอยู่ 5 ส่วนใหญ่ๆ คือ ไอพีแอดเดรส (IP address) และการเลือกเส้นทาง (Addressing & Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Network Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการของผู้ดูแลระบบ และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices)
ประโยชน์หลักของ IPv6 และเป็นเหตุผลสำคัญของการเริ่มใช้ IPv6 ได้แก่ จำนวน ไอพีแอดเดรส ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน ไอพีแอดเดรส เดิมภายใต้ IPv4 address มี 32 บิต ในขณะที่ IPv6 address มี 128 บิต ความแตกต่างของจำนวน ไอพีแอดเดรส มีมากถึง 296 เท่า
ความสำคัญของการมีไอพีแอดเดรส ที่ไม่ซ้ำกันและสามารถเห็นกันได้ทั่วโลก จะช่วยผลักดันการพัฒนาแอพพลิเคชั่นแบบ peer-to-peer ที่ต้องการไอพีแอดเดรส จริงเป็นจำนวนมาก เช่นการทำ file sharing, instant messaging, และ online gaming แอพพลิเคชั่นเหล่านี้มีข้อจำกัดภายใต้ IP V.4 address เนื่องจากผู้ใช้บางส่วนที่ได้รับจัดสรร ไอพีแอดเดรส ผ่าน NAT (Network Address Translation) ไม่มีไอพีแอดเดรส จริง จึงไม่สามารถใช้แอพพลิเคชั่นเหล่านี้ได้
การนำ IPv6 มาใช้ ควรจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากการปรับเปลี่ยนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลจะส่งผลกระทบต่อเครือข่ายทั่ว โลกที่เชื่อมต่อกันอยู่ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนไปสู่เครือข่าย IP V.6 ล้วน อาจใช้ระยะเวลาเป็นปี เพราะเหตุนี้ ทาง IETF จึงเสนอทางออกเพื่อช่วยในการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 ในระหว่างที่เครือข่ายบางแห่งเริ่มมีการปรับเปลี่ยน
ในช่วงแรก การใช้งาน IPv6 อาจอยู่ในวงแคบ ดังนั้นเราต้องการเทคนิคเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายที่เป็น IPv6 เข้ากับเครือข่าย IPv4 หรือเครือข่าย IPv6 อื่น เทคนิคการทำงานร่วมกันระหว่าง IPv4 และ IPv6 แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกันคือ 1). dual stack  2).  Tunnel  3). Translation

เปรียบเทียบโครงสร้างทางเทคนิดระหว่าง IP v.4 และ IP v.6
เฮดเดอร์ ( Header) ของข้อมูลแบบ IPV 6 ถูกออกแบบมาให้มีขนาดคงที่และมีรูปแบบที่ง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยเฮดเดอร์จะประกอบด้วยตำแหน่งต่างๆ ( field ) ที่จำเป็นต้องใช้ในการประมวลผลของแพ็กเก็ต ( packet ) ที่เราเตอร์ ( router ) ทุกๆตัวเท่านั้น ส่วนตำแหน่งที่อาจจะถูกประมวลผลเฉพาะที่ต้นหรือปลายทาง หรือที่เราเตอร์บางตัวจะถูกตัดออกมาไว้ที่ส่วนขยายของเฮดเดอร์ ( extended header )

เปรียบเทียบโครงสร้างทางเทคนิค IPV 6 และ IPV 4

จะเห็นว่าเฮดเดอร์ IPV.6  ถึงแม้จะมีขนาดยาวกว่า IPV.4 แต่จะดูเรียบง่ายกว่าเฮดเดอร์ของ IPV.4 มาก ทั้งนี้หากพิจารณาเฮดเดอร์ของ IPV.6 เทียบกับของ IP. 4 จะสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างได้ดังนี้

1).  ตำแหน่งที่ตัดออก
Header length ถูกตัดออกไป เพราะเฮดเดอร์ของ IPV 6 มีขนาดควที่ที่ 40 octets(bytes) ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของการประมวลผลแพ็กเก็ตดีขึ้นเพราะไม่เสียเวลาในการ คำนวณขนาดของ header
Identifiaction , Flag , Segmentation , Protocal , Options , และ Padding ถูกย้ายไปอยู่ในส่วนขยายของเฮ็ดเดอร์ เพราะถือว่าเป็นส่วยไม่จำเป็นต้องประมวลผลในทุกๆเราเตอร์
Header Checksum ถูกตัดออกเพราะว่าซ้ำซ้อนกับฟังก็ชันของโพรโตคอลในชั้นที่อยู่สูงกว่า อีกทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพของการประมวลผลด้วย เพราะ Checksum จะต้องมีการคำนวณใหม่ที่เราเตอร์เสมอ หากตัดออกก็จะลดภาระงานที่เราเตอร์ไปได้
2).  ตำแหน่งที่ปรับเปลี่ยน
Total Length เปลี่ยนมาเป็น Payload length เพื่อระบุขนาดของ payload ในหน่วย octets(bytes) ดังนั้นขนาดของ payload สูงสุดเป็น 65,535 octets
Time-To-Live (TTL)ของ IPV4 เปลี่ยนมาเป็น Hop Limit เพราะTTL ระบุเวลาที่ packet จะวนเวียนอยู่ใน อินเทอร์เน็ต (หน่วยเป็นวินาที) โดยระบุว่าแต่ละเราเตอร์ต้องลด TTL ลงอย่างน้อย 1 วินาที เราเตอร์จึงลด TTL ครั้งละ 1 หน่ววยเสมอแม้ว่าจะใช้เวลาประมวลผลแพ็กเก็ตน้อยกว่านั้น ทำให้ไม่ตรงกับความหมายของ TTL ดั้งนั้นจึงถูกเปลี่ยนเป็น Hop limit เพื่อให้ตรงกับความหมายจริงๆซึ่งเหมาะสมและง่ายต่อการประมวลผล
Protocal เปลี่ยนมาเป็น Next Header ซึ่งใช้เป็นตัวบอกว่า extended header ตัวถัดไปเป็นเฮดเดอร์ประเภทไหน เช่น IPSec ซี่งเป็น extended header ก็จะมีค่า Next Header = 51
3).  ตำแหน่งที่เพิ่ม
Flow label ใช้ระบุลักษณะการไหลเวียนของทราฟฟิก ระหว่างต้นทางกับปลายทาง เช่น ในแอปพลิเคชัน video conference มีทราฟฟิกหลายลักษณะ (เช่น ภาพ เสียง ตัวอักษร ฯลฯ)ในแอปพลิเคชั่นหนึ่งจะสร้าง flow label ได้หลายลักษณะและสามารถแยก flow ของภาพและเสียงออกจากกันได้
Traffic Class ใช้ระบุว่าแพ็กเก็ตนี้อยู่ในกลุ่มใดและมีระดับความสำคัญเท่าไหร่เพื่อที่เรา เตอร์จะจัดลำดับขั้นการส่งแพ็กเก็ตให้เหมาะสม
Larger address space
IPv.4  จะมีหมายเลข IP ทั้งหมดได้เพียง 4,294,967,296  เลขหมาย
IPv.6  สามารถ มีหมายเลข IP ได้ ทั้งหมด 3,402,823,669,293,846,346,337,467,431,768,211,456   เลขหมาย
ตัวอย่าง ของ IP ระหว่าง IPv.4 และ IPv.6
IPv6
2001:0db8:85a3:08d3:1319:8a2e:0370:7334
IPv4
207.142.131.236

รอกันมานาน’ไอพีวี 6′จุดเปลี่ยนโลกออนไลน์ เชื่อหรือไม่ว่า ไอพีแอดเดรสเวอร์ชั่นที่เราใช้ระบุตัวตนบนโลกออนไลน์ปัจจุบัน หรือไอพีวี 4 (IPv4) ได้หมดลงตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ของโลก รวมถึงไทยที่ต้องพัฒนาให้ก้าวไปเป็นไอพีวี 6 (IPv6)

 ไอพีวี สำคัญอย่างไร รศ.สินชัย กมลภิวงศ์ นายกสมาคมไอพีวี 6 ประเทศไทย ให้คำตอบว่า ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตคงรู้อยู่แล้วว่า การท่องอยู่บนโลกออนไลน์ เราจะเป็นใครก็ได้ เพราะไม่มีอะไรระบุความเป็นบุคคลคนนั้นได้ นอกจากไอพีแอดเดรสหรือหมายเลขไอพี ซึ่งคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟนทุกเครื่องทั่วโลกจะได้ตัวเลขไม่ซ้ำกันเลย

 ฉะนั้น การสิ้นสุดของไอพีวี 4 ก็หมายความว่า หมายเลขไอพีวีกว่า 4,000 ล้านเลขหมายถูกใช้จนหมดแล้ว และประเทศอื่นๆ ในโลกส่วนใหญ่ได้ก้าวสู่ไอพี 6 ไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระบบปฏิบัติการทุกตัวทั้งวินโดวส์ 7 แอนดรอยด์ หรือไอโอเอส ต่างพร้อมสำหรับไอพีวี 6 รวมถึงเว็บเบราเซอร์ทั้งไออี ไฟร์ฟอกซ์ และกูเกิลโครม

 สำหรับประเทศไทย แม้จะขยับตัวรับไอพีวี 6 มาตั้งแต่ปี 2543 หรือเมื่อ 10 ปีก่อน แต่ความคืบหน้าก็ยังมีให้เห็นไม่มากนัก มีเพียงแผนปฏิบัติงานที่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายบรอดแบนด์แห่งชาติ และมีการแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมนโยบายไอพีวี 6 เพื่อร่วมกันกำหนดนโยบายเตรียมความพร้อมรับไอพีวี 6

 กระทั่ง เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ประเทศไทยได้นำร่องใช้ไอพีวี 6 โดยสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) ตามมาด้วยรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือไอซีที ได้แก่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือแคท ซึ่งร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พัฒนาอุปกรณ์สำหรับการใช้งานที่ปลายทางลูกค้า ในการเชื่อมต่อเครือข่ายไอพีวี 6 แบบชั่วคราว พร้อมทั้งการแจกจ่ายหมายเลขไอพีวี 6 ให้แก่ผู้ใช้งานในประเทศ รวมไปถึงการวิจัยและพัฒนาการใช้งานไอพีวี 6 บนโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ของ กสท อยู่ในขณะนี้

 ล่าสุด เมื่อวันที่ 8 มิถุนายนนี้ ทั่วโลกกำหนดให้เป็นวัน “เวิลด์ไอพีวี 6 เดย์” และผู้ให้บริการระดับโลกทั้งกูเกิล เฟซบุ๊ก ยูทูบ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทุกรายในไทยและอื่นๆ พร้อมใจกันปฏิบัติการทดสอบการใช้งานไอพีวี 6 เป็นระยะเวลา 24 ชั่วโมง โดยทำการทดสอบและตรวจสอบการใช้งานร่วมกันระหว่างไอพีวี 4 กับไอพีวี 6 เพื่อดูว่าจะมีผลกระทบหรือมีปัญหาใดบ้าง เมื่อต้องรองรับข้อมูลอินเทอร์เน็ตพร้อมกันทั้งโลก และควรจะเตรียมพร้อมรับมือ/แก้ไขอย่างไร

 ”ความต่างของไอพีวี 4 กับ 6 คือปริมาณไอพีแอดเดรสที่มากขึ้น สามารถรองรับการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดของจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโลก ซึ่งรวมถึงผู้ที่ใช้สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เพราะปัจจุบันหมายเลขไอพีจากเวอร์ชั่น 4 ที่หมดลง มีผลต่อการขยายตัวของอินเทอร์เน็ต แม้จะไม่ได้ทำให้โลกอินเทอร์เน็ตใช้งานไม่ได้ในทันที แต่การเข้าดูเว็บไซต์ต่างๆ มีความล่าช้าหรือติดขัดบ้าง” นายกสมาคมไอพีวี 6 ประเทศไทยอธิบาย

 เมื่อถามถึงความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนเป็นไอพีวี 6 รศ.สินชัยกล่าวว่า ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตขยายตัว ขณะที่เลขหมายไอพีซึ่งมีจำกัดได้ทยอยหมดลง จึงเกิดการแชร์ไอพีกัน สิ่งที่ตามมาคือ ประสิทธิภาพในการใช้งานอินเทอร์เน็ตลดลง ยิ่งแชร์กันมาก เวลาเปิดเว็บไซต์หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ ก็ช้า หรือเปิดไม่ได้เลย

 ดังนั้น ไอพีวี 6 จะตอบสนองการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนอินเทอร์เน็ตในอนาคต โดยเฉพาะรองรับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของระบบแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ

 สิ่งที่ผู้ใช้จะได้ประโยชน์อย่างแน่นอนจากการเปลี่ยนแปลงนี้คือ การรับส่งข้อมูลและการใช้งานมัลติมีเดีย ซึ่งมีการสำรวจในเบื้องต้นพบว่า เร็วกว่าไอพีวี 4 กว่า 50% อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยอาจจะต้องใช้เวลาในการเตรียมความพร้อม พัฒนาคน ซอฟต์แวร์และโครงข่ายสาธารณูปโภค คาดว่าจะพร้อมใช้ไอพีวี 6 ในอีก 4-5 ปีข้างหน้า

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

I phone 4 s



คุณสมบัติที่แตกต่างกัน

CPU และ GPU เร็วกว่า
iPhone 4S ใช้ CPU แบบ Dual-core และเปลี่ยน GPU (ด้านกราฟฟิค) ใหม่ โดยด้าน CPU นั้นมีผลทดสอบแล้วว่าเร็วกว่าเดิมสองเท่า และทางด้านกราฟฟิคนั้นเร็วกว่าเดิม 7 เท่า สำหรับความแรงเรียกได้ว่าอยู่อันดับต้นๆ ของสมาร์ทโฟนวันนี้เลยทีเดียว

ความจุแบตเตอรี่ที่มากกว่า
iPhone 4S ใช้แบตเตอรี่ที่สามารถจุพลังงานได้มากกว่า iPhone 4 ทำให้แม้จะมี CPU และ GPU ที่เร็วกว่า แต่ยังสามารถใช้งานได้นานกว่า iPhone 4 เดิม

World Phone
iPhone 4S นั้นรองรับ CDMA และ GSM ทำให้สามารถใช้ในระบบ CDMA ได้ โดยรองรับ CDMA 800/1900/2000 1x EV-DO รวมถึงระบบ GSM นั้นยังรองรับ HSPA+ (3G) ทุกคลื่นความถี่ โดยรองรับทั้ง 850/900/1900/2100 Mhz.

แก้ปัญหาเรื่องสัญญาณหาย
iPhone 4 นั้นมีปัญหา dead grip คือเมื่อจับในบริเวณส่วนล่างของเครื่องจะทำให้สัญญาณนั้นลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และแอปเปิ้ลเองก็ยอมรับถึงจุดนี้ สำหรับ iPhone 4S นั้นแอปเปิ้ลแก้ปัญหาโดยการเพิ่มเสาสัญญาณ 2 จุด

กล้องดีขึ้น
กล้องของ iPhone 4S มีความละเอียดมากถึง 8 megapixel และมีการปรับปรุง CMOS ที่ใช้รับภาพ และมีค่า F/2.4 ทำให้รับแสงได้เพิ่มขึ้นถึง 73% และถ่ายภาพแรกใช้เวลาเพียง 1.1 วินาที จากนั้นถ่ายภาพต่อไปใช้เวลาเพียง 0.5 วินาที พร้อมมี Infrared Filter ช่วยในการปรับสีให้เที่ยงตรงมากขึ้น ใช้เลนส์ถึง 5 ชิ้นแบบเดียวกับกล้อง DSLR พร้อมปรับปรุง White Balance และเพิ่มระบบ Face Detection

ถ่ายวีดีโอดีขึ้น
ทางด้านการถ่ายวีดีโอของ iPhone 4S นั้นสามารถถ่ายแบบ Full HD (1080p) มาพร้อมระบบช่วยลดการสั่นของภาพและระบบ noise reduction แบบ real-time

ราคาของ iPhone 4S ในต่างประเทศ
ราคาพร้อมสัญญาการใช้บริการ 2 ปี ในสหรัฐอเมริกา (เครื่องแบบ lock เฉพาะผู้ใช้บริการนั้น)
iPhone 4S รุ่น 16GB ราคา 199 ดอลล่าร์ (ประมาณ 6,300 บาท)
iPhone 4S รุ่น 32GB ราคา 299 ดอลล่าร์ (ประมาณ 3,900 บาท)
iPhone 4S รุ่น 64GB ราคา 399 ดอลล่าร์ (ประมาณ 12,400 บาท)

ราคาเครื่องเปล่าแบบไม่ติดสัญญา ในสหรัฐอเมริกา (Official Unlock)
iPhone 4S รุ่น 16GB ราคา 649 ดอลล่าร์ (ประมาณ 20,150 บาท)
iPhone 4S รุ่น 32GB ราคา 749 ดอลล่าร์ (ประมาณ 23,250 บาท)
iPhone 4S รุ่น 64GB ราคา 849 ดอลล่าร์ (ประมาณ 26,350 บาท)

ยอดจอง iPhone 4S แรงมาก
วันแรกของการเปิดตัว iPhone 4S มียอดขายมากถึง 1,000,000 เครื่อง ซึ่งทำสลายสถิติเดิมของ iPhone 4 ที่ 600,000 เครื่อง ซึ่งเป็นยอดขายในวันเดียวที่สูงที่สุดของแอปเปิ้ลตั้งแต่บริษัทก่อตั้งขึ้นมา ในวันแรก Steve Wozniak หนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้ก่อตั้งแอปเปิ้ลร่วมกับ Steve Jobs ก็มาต่อแถวซื้อ iPhone 4 เป็นคนแรกของร้าน Apple Store ที่เขต Los Gatos ในมลรัฐ California



iPhone 4S ขายได้มากกว่า 4 ล้านเครื่องในสัปดาห์แรกที่เปิดตัว

วันนี้แอปเปิ้ลได้ประกาศยอดขายของ iPhone 4S ในสัปดาห์แรกของการวางจำหน่าย ซึ่งในสัปดาห์แรกนี้ถือว่าวางจำหน่ายเพียง 3 วันเท่านั้นคือวันศุกร์ (วันที่ขายวันแรก), วันเสาร์และวันอาทิตย์ โดย iPhone 4S จำหน่ายได้กว่า 4 ล้านเครื่อง และถือว่ายอดขายสูงกว่าสมัย iPhone 4 มาก ซึ่งประเทศที่วางจำหน่ายในขณะนี้มีเพียง 7 ประเทศเท่านั้น ได้แก่ ออสเตรเลีย, แคนนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมณี, ญี่ปุ่นและอังกฤษ

สรุป iPhone 4S ที่เปิดตัวใหม่ดีกว่า iPhone 4 โดย CPU ใหม่เร็วขึ้น, กราฟฟิคเร็วขึ้น (สำหรับเกม), กล้องดีขึ้นนิดหน่อย, ถ่ายวีดีโอได้ละเอียดขึ้น และมีความจุ 64GB มาให้เลือก และสิ่งที่สำคัญของ iPhone 4S ที่แตกต่างจาก iPhone 4 คือฟังก์ชั้น Voice Contrl (สั่งงานด้วยเสียง) ชื่อ "Siri"

สำหรับราคา iPhone 4S ในประเทศไทยตอนนี้ยังไม่ประกาศอย่างเป็นทางการ ล่าสุด AIS, DTAC และ True ได้ประกาศเปิดตัว iPhone 4S วันที่ 16 ธันวาคม 2554 นี้แล้ว

หมายเหตุ:
* อัพเดทเสปคเครื่อง เนื่องจากต่างประเทศที่ได้เครื่องไปทดสอบยืนยันแล้วว่า iPhone 4S มีแรมเท่ากันกับ iPhone 4 และ iPad 2 คือ 512MB (7 ตุลาคม 2554)